บทความ

@อาหาร 5 หมู่กินให้ครบ

คำแนะนำของหมอ      หมอมักจะแนะนำเราอยู่เสมอๆ ว่าควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่เพื่อสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์สูงสุด อาหาร 5 หมู่ เป็นความรู้ที่ทุกคนเรียนกันมาตั้งแต่อนุบาลจนถึงชั้นประถมศึกษา

วิตามินและแร่ธาตุ

รูปภาพ
วิตามินและแร่ธาตุคืออะไร?? ทำไมจึงสำคัญ??        เมื่อพูดถึงวิตามิน สิ่งแรกที่เรานึกถึงส่วนใหญ่คือ เม็ดยา ทั้งในรูปแบบเม็ด แคปซูลหรือ ผงละลายน้ำ จึงทำให้บางคนเกิดความสับสนระหว่างยาที่ใช้รักษาโรคกับวิตามิน ในความเป็นจริงแล้ววิตามินไม่ใช่ยารักษาโรค อธิบายง่ายๆ ว่า วิตามินคือ สารอินทรีย์ที่จำเป็นต่อชีวิตมีความสำคัญต่อการทำหน้าที่ตามปกติของร่างกายเรา และร่างกายไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์วิตามินขึ้นเองได้ วิตามินจึงได้มาจากการรับประทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเท่านั้น อาหารที่ร่างกายขาดเป็นประจำ เมื่อพูดถึงวิตามิน สิ่งแรกที่เรานึกถึงส่วนใหญ่คือ เม็ดยา ทั้งในรูปแบบเม็ด แคปซูลหรือ ผงละลายน้ำ จึงทำให้บางคนเกิดความสับสนระหว่างยาที่ใช้รักษาโรคกับวิตามิน ในความเป็นจริงแล้ววิตามินไม่ใช่ยารักษาโรค อธิบายง่ายๆว่า วิตามินคือ สารอินทรีย์ที่จำเป็นต่อชีวิตมีความสำคัญต่อการทำหน้าที่ตามปกติของร่างกายเรา และร่างกายไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์วิตามินขึ้นเองได้ วิตามินจึงได้มาจากการรับประทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเท่านั้น  วิตามินไม่สามารถทดแทนโปรตีนหรือสารอาหารอื่น เช่นเกลือแร่ ไขมัน

อาหารที่ร่างกายขาดเป็นประจำ

รูปภาพ
โปรตีน เกลือแร่และวิตามิน       สารอาหารจำเป็นทั้ง 3 หมู่ ในโภชนากการอาหาร 5 หมู่ ที่เรากินขาดเป็นประจำ คือ หมู่โปรตีน หมู่วิตามิน และหมู่แร่ธาตุ ส่วนหมู่อาหารให้พลังงานคาร์โบไฮเดรตจะขาดใยอาหารจากข้าวที่ถูกขัดออกไปและหมู่ไขมันที่ยังคงต้องให้ความรู้ต่อไปในเรื่องของโอเมก้า 3 , 6 .9      วิตามินและแร่ธาตุ คือ หมู่อาหารที่สำคัญแลจำเป็นต่ออวัยวะทุกอวัยวะของร่างกาย เมื่อขาดจะทำให้เรา สุขภาพไม่แข็งแรง และเจ็บป่วยในที่สุด การดูแลโภชนาการให้ได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ ดูแลหมู่วิตามินและแร่ธาตุ ให้ได้ครบ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นเพื่อสุขภาพ      ในหนึ่งวันเรามาดูกัน เราต้องกินอะไรบ้างจึงจะให้เราได้สารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุุครบตามคำแนะนำของหมอและหลักโภชนศาสตร์ ตัวอย่าง ชุดอาหารทีให้เกลือแร่วิตามินครบใน 1 วัน ของเรา ต้องเตรียมเครื่องปรุงดังนี้ 1. ไข่ไก่ จำนวน 12 ฟอง 2. ปลาทูน่า 7 กระป๋อง 3. มะเขือเทศ 2 ผล 4. ถั่วลันเตา 3 ถ้วย 5. ผักขม 3 ถ้วย 6. เต้าหู้ 2 ก้อน 7. โยเกิรต 18 ถ้วย 8. ถั่วเหลืองต้มสุก 3 ถ้วย 9. ผักกาดหอม 3 ถ้วย 10. ส้ม 2 ผล 11. อกไก่ 4 ขีด ครึ่ง 12. ขนมปั

ค่าออร์แลค 3000 จากไฟโตนิวเทรียน

หออร์แลค 3000. ปัจจุบันนี้ค่าความเสี่ยงของคนเราที่รับมลพิษต่างๆ 3 ทาง คือ อาหาร อากาศ และ น้ำ มีความรุนแรงชึ้น และความรุนแรงนี้ ส่งผลให้คนเราป่วยด้วยโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น อนุมูลอิสระที่ต้นเหตุจากมลพิษต่างๆ เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เซลของร่างกายแปรเปลี่ยนเป็นเซลมะเร็งกลับมาทำลายร่างกายของเรา เนื่องจากเรากินผักและผลไม้ลดลง จึงทำให้สมุนไพรที่ได้จากผักและผลไม้ ทางการแพทย์เรียกไฟโตนิวเทรียน มีค่าเรียกว่า ค่าออร์แลค ลดลงนั่นเอง ไฟโตนิวเทรียนคือตัวควบคุมการแปรเปลี่ยนของเซลมะเร็ง ปัจจุบันจะต้องได้ค่าเริ่มต้นที่ 3000 ออร์แลค เป็นอย่างน้อยเราจึงจะปลอดภัยจากการเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งตามรายงานขององค์การอนามัยโลกหรือ WHO      ค่าออร์แลค 3000 ตามมาตตราฐานได้จากการบริโภคผักและผลไม้ดังนี้ กล้วย 1 ผล ให้ค่า ออร์แลค 250, แตงกวา 1 ลูกให้ค่าออร์แรค 50 , กะหล่ำดอกหรือกระหล่ำปลี 1 หัว ให้ค่าออร์แลค 380, มะเขือม่วง 1 ลูกให้ค่าออร์แลค 350 เป็นต้น ผลบลูเบอรี่ให้ค่าออร์แลค 2400, ผลทับทิมให้ค่าออร์แลค 3300, ผักเคล ตระกูลคะน้าให้ค่าออร์แลค 1770 เป็นต้น สูตรสำเร็จที่ง่ายกว่า ดื่มชาเขียวของญี่ปุ่น 2 ถ้วย กับ แอ๊ปเป

โปรตีน เท่าไรจึงพอ

รูปภาพ
มาตรฐานอาหารโปรตีนRDAประเทศไทย โปรตีน เท่าไรจึงพอ ร่างกายใช้ โปรตีน อย่างไร คนเราต้องการโปรตีนเท่าไร ขึ้นอยู่กับวัยของแต่ละคน ปัจจุบันผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า ผู้ใหญ่ที่อายุมากมีแนวโน้มที่จะบริโภคโปรตีนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับประจำวัน (RDA) ของโปรตีน ในคนอเมริกันคือ ผู้ชายต้องการโปรตีนประมาณ 63 กรัม/วัน ส่วนผู้หญิงต้องการประมาณ 50 กรัม/วัน สำหรับคนไทยปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับอาหารโปรตีนคือ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ยกเว้นกลุ่มเด็กทารก เด็กเล็กและวัยรุ่น ดังนั้นถ้าผู้ใหญ่มีน้ำหนักตัว 55 กิโลกรัม ความต้องการโปรตีนคือ 55 กรัม/วัน โปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซล ร่างกายคนเราต้องการโปรตีนเพื่อช่วยในการเจริญเติบโต เสริมสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ สร้างฮอร์โมน เอ็นไซม์และเม็ดเลือดตลอดเวลา ข้อมูลการวิจัยในปัจจุบันยังพบว่า โปรตีนยังมีความสำคัญของสุขภาพกระดูก หัวใจ และการลดน้ำหนัก งานวิจัยในปัจจุบันพบว่า ผู้สูงวัยจะได้ประโยชน์จากการเสริมโปรตีนเพิ่มขึ้น เหตุผลก็คือ เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายจะสูญเสียโปรตีนจากกล้ามเนื้อและผิว

หอบหืด

รูปภาพ
โรคหอบหืด คืออะไร อาการร้ายแรงไหม ? โรคหืด (Asthma) หรือที่คนทั่วไปมักเรียกหอบหืด เป็นโรคที่เกิดจากการหดตัวหรือตีบตันของระบบทางเดินหายใจ เยื่อบุผนังหลอดลมอักเสบ ทำให้ไวต่อสิ่งกระตุ้น หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายมากกว่าคนปกติ เกิดการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณหลอดลม ทำให้หายใจลำบาก หายใจมีเสียงวี้ด อากาศเข้าสู่ปอดน้อยลง หายใจไม่อิ่ม มีอาการไอ เจ็บหน้าอก โรคหืดเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ ถือว่าเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เช่น ส่งผลให้เกิดการพัฒนาช้า (ในเด็ก) ผู้ป่วยเรียนและทำงานได้ไม่เต็มที่ ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน หรือเล่นกีฬาได้อย่างเต็มที่ ยิ่งสภาพอากาศเกิดการแปรปรวน มลภาวะเป็นพิษมากขึ้นเท่าไหร่ ผู้ป่วยยิ่งได้รับผลกระทบในการดำเนินชีวิตมากขึ้นและส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ องค์กรอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคหืดทั่วโลกมีปริมาณสูงมากกว่า 300 ล้านคน ผู้ป่วยจึงควรหมั่นสังเกตตัวเอง และเตรียมพร้อมรับมือกับอาการที่อาจกำเริบขึ้น เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป เมื่อร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสา

โรคหูดับ

รูปภาพ
ไม่ร้ายแรง รักษาได้...แต่อาจไม่หายขาด ปัจจุบันภาวะประสาทหูดับฉับพลัน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “หูดับ” คือการที่มีภาวการณ์ได้ยินที่ลดลงจากเดิมฉับพลัน ยังไม่สามารถค้นพบสาเหตุที่แน่ชัดได้ และไม่มีอาการบ่งชี้ให้ทราบล่วงหน้า แต่จะเกิดขึ้นฉับพลันทันที เช่น  ตื่นขึ้นมาแล้วหูข้างหนึ่งอื้อหรือได้ยินลดลงจนถึงขั้นดับไปเลย โดยไม่มีสาเหตุอะไรนำมาก่อนและสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกอายุ  ส่วนมากกลุ่มเสี่ยงคือผู้ใหญ่ โดยเพศชายและหญิงมีอัตราการเกิดภาวะหูดับพอ ๆ กัน ภาวะหูดับไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักเกิดขึ้นบริเวณหูชั้นใน  สามารถระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดได้หลายอย่าง  อาทิเช่น  มีการติดเชื้อ  มีเนื้องอก  มีการขาดเลือดที่จุดในหูชั้นใน ซึ่งหูชั้นในเป็นอวัยวะที่เล็กมาก เส้นเลือดจึงเป็นเส้นเลือดที่เล็กมากเช่นเดียวกัน  ดังนั้น  เมื่อเกิดอาการขาดเลือดก็ส่งผลต่อภาวะหูดับได้ การเจาะเลือดเพื่อตรวจภาวะการอักเสบติดเชื้อ เช่น เชื้อซิฟิลิส อาจทำให้มีอาการประสาทหูดับฉับพลัน หรืออาจจะต้องตรวจประสาทก้านสมอง  เพื่อดูว่ามีเนื้องอกตรงเส้นประสาทหรือไม่ บางทีเนื้องอกจะค่อย ๆ โตขึ้นเรื่อย ๆ  ตอนที่เนื้องอกยังเล็ก ๆ  มั