โรคหูดับ
ไม่ร้ายแรง รักษาได้...แต่อาจไม่หายขาด
ปัจจุบันภาวะประสาทหูดับฉับพลัน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “หูดับ” คือการที่มีภาวการณ์ได้ยินที่ลดลงจากเดิมฉับพลัน ยังไม่สามารถค้นพบสาเหตุที่แน่ชัดได้ และไม่มีอาการบ่งชี้ให้ทราบล่วงหน้า แต่จะเกิดขึ้นฉับพลันทันที เช่น ตื่นขึ้นมาแล้วหูข้างหนึ่งอื้อหรือได้ยินลดลงจนถึงขั้นดับไปเลย โดยไม่มีสาเหตุอะไรนำมาก่อนและสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกอายุ ส่วนมากกลุ่มเสี่ยงคือผู้ใหญ่ โดยเพศชายและหญิงมีอัตราการเกิดภาวะหูดับพอ ๆ กัน
ภาวะหูดับไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักเกิดขึ้นบริเวณหูชั้นใน สามารถระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดได้หลายอย่าง อาทิเช่น มีการติดเชื้อ มีเนื้องอก มีการขาดเลือดที่จุดในหูชั้นใน ซึ่งหูชั้นในเป็นอวัยวะที่เล็กมาก เส้นเลือดจึงเป็นเส้นเลือดที่เล็กมากเช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อเกิดอาการขาดเลือดก็ส่งผลต่อภาวะหูดับได้
การเจาะเลือดเพื่อตรวจภาวะการอักเสบติดเชื้อ เช่น เชื้อซิฟิลิส อาจทำให้มีอาการประสาทหูดับฉับพลัน หรืออาจจะต้องตรวจประสาทก้านสมอง เพื่อดูว่ามีเนื้องอกตรงเส้นประสาทหรือไม่ บางทีเนื้องอกจะค่อย ๆ โตขึ้นเรื่อย ๆ ตอนที่เนื้องอกยังเล็ก ๆ มักจะไม่ส่งผลต่อภาวะหูดับ แต่พอมันใหญ่ขึ้นก็จะไปเบียดกดทับประสาทการได้ยิน หรือแม้แต่การตรวจผลเลือดอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง เรื่องความเข้มข้นเลือด หรืออาจจะมีสาเหตุจากโรคอื่นที่ไม่ชัดเจน เป็นต้น
เนื่องจากหูดับเกิดขึ้นบริเวณหูชั้นใน..จึงไม่สามารถตรวจหรือมองเห็นได้ แพทย์ผู้รักษาจึงต้องทำการตรวจหาสาเหตุต่างๆ โดยอาจจะเป็นการเจาะเลือด การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือว่าการตรวจพื้นฐานในเรื่องของการได้ยิน หากไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ อาจจะเกิดขึ้นเพราะมีการติดเชื้อ แพทย์จะให้ยาลดการอักเสบและสันนิษฐานว่าสาเหตุเกิดจากการอักเสบของหูชั้นใน
ภาวะหูดับ...สามารถรักษาได้หรือไม่?
หลังจากการตรวจหาสาเหตุเบื้องต้นแล้ว แพทย์จะพิจารณารักษาตามความรุนแรงของโรค เช่น บางคนมีภาวะหูดับ แต่ไม่ถึงกับดับไปเลย บางคนแค่เสียการได้ยินเหมือนหูตึง หรือบางคนดับไปเลย
หากเป็นไม่มาก ในเบื้องต้นแพทย์จะให้ยากิน และต้องอธิบายให้คนไข้ทราบว่าไม่รับประกันผลการรักษา เพราะภาวะดังกล่าวไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร การให้ยากิน เป็นแนวทางที่จะช่วยลดการอักเสบภายในหูชั้นใน หลังจากกินยาแล้วไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาฉีดสเตียรอยด์ เข้าไปในแก้วหูชั้นในผ่านเยื่อแก้วหูเข้าไป เพื่อให้ตัวยาเหมือนไปขังในหูชั้นใน จากนั้น ตัวยาจะแทรกซึมเพื่อลดอาการอักเสบ ซึ่งการฉีดยาเข้าไปเป็นเพียงการเพิ่มโอกาสในการรักษาเท่านั้น
เมื่อไร? ที่ต้องฉีดสเตียรอยด์แก้วหู
การฉีดสเตียรอยด์แก้วหู ใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะหูดับฉับพลันหรือหูดับเท่านั้น ปริมาณในการฉีดขึ้นอยู่กับช่องของหูชั้นกลาง เวลาฉีดต้องฉีดผ่านเยื่อแก้วหู ซึ่งแพทย์จะพิจารณาปริมาณในการฉีดโดยดูปัจจัยหลักด้านกายวิภาคของคนไข้
การฉีดสเตียรอยด์เป็นทางเลือกในการรักษาที่แพทย์เลือกใช้บ่อย เนื่องจากจะช่วยลดอาการอักเสบที่เกิดขึ้น ผลข้างเคียงมีค่อนข้างน้อยเพราะเป็นการฉีดแค่เฉพาะที่ จึงไม่ค่อยส่งผลต่อระบบอื่นของร่างกาย คนไข้สามารถมาฉีดสัปดาห์ละหนึ่งครั้งติดต่อกันเป็นเวลาสามสัปดาห์ จากนั้นแพทย์ผู้รักษาจะติดตามผล ดูการตอบสนอง การรักษาอาการหูดับด้วยการฉีดสเตียรอยด์ใช้เวลาไม่นาน
โรคหูดับไม่ถึงแก่ชีวิต แต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
ภาวะหูดับไม่ใช่โรคที่ทำให้ถึงแก่ชีวิต แต่ว่าส่งผลต่อคุณภาพชีวิตค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องการฟัง การสื่อสาร ปกติคนไข้ที่ประสบภาวะหูดับ จะดับเพียงข้างเดียวและอีกข้างยังได้ยิน แต่คนไข้จะกังวลไม่สบายใจ และต้องใช้เวลาปรับตัวให้ชิน ดังนั้น แพทย์ที่รักษาต้องพยายามช่วยให้ดีที่สุด เพราะไม่ใช่รักษาเพียงแต่ภาวะหูดับเท่านั้น แต่ภาวะดังกล่าวยังส่งผลต่อโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการได้ยิน และจะส่งผลต่อสภาวะจิตใจของคนไข้
หูดับ...ไม่สามารถหายขาดได้
แพทย์ผู้รักษาต้องคุยกับคนไข้ให้เข้าใจว่าภาวะหูดับไม่สามารถรักษาให้หายได้สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มีสิ่งนำ ไม่มีเหตุการณ์มาก่อน และโรคนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน และต้องอธิบายให้เขาฟังว่าที่เป็นไม่ใช่โรคที่รุนแรงที่ทำให้เขาถึงแก่ชีวิต โรคนี้ไม่ใช่โรคอันตราย และยังเกิดขึ้นได้กับทุกคน
แม้ว่าทั่วโลกยังไม่มีวิธีการรักษาที่แน่นอน แต่ทางการแพทย์ได้เสนอวิธีการรักษาที่ดีสุดเท่าที่มี เพื่อให้คนไข้ดีขึ้น ถึงแม้สุดท้ายไม่ประสบผลสำเร็จ...แต่โรคนี้ไม่ได้ทำให้คุณกลายเป็นผู้พิการ มันไม่ได้ทำให้คุณขาดความสามารถใด ๆ แต่คนไข้จะต้องปรับตัวกับการที่หูข้างหนึ่งได้ยินไม่เท่ากับอีกข้างหนึ่ง
การดูแลตนเอง..เมื่อเกิดภาวะหูดับ
แพทย์มีหน้าที่ต้องทำให้คนไข้ผ่อนคลายความกังวลลง รวมถึงให้คำแนะนำเรื่องการดูแล ป้องกันตนเองเมื่อเกิดภาวะหูดับฉับพลัน เมื่อหูอีกข้างได้ยินไม่สมบูรณ์เหมือนก่อน คนไข้ต้องหลีกเลี่ยงสถานที่เสียงดัง ๆ และต้องระวังปัจจัยที่จะมากระทบกับหูมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดภาวะหูดับกับหูอีกข้างซึ่งยังไม่มีอาการ
ขอขอบคุณ
พญ.นิชธิมา ฉายะโอภาส
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิกวิทยา ศูนย์หู คอ จมูก
โรงพยาบาลพญาไท2
ปัจจุบันภาวะประสาทหูดับฉับพลัน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “หูดับ” คือการที่มีภาวการณ์ได้ยินที่ลดลงจากเดิมฉับพลัน ยังไม่สามารถค้นพบสาเหตุที่แน่ชัดได้ และไม่มีอาการบ่งชี้ให้ทราบล่วงหน้า แต่จะเกิดขึ้นฉับพลันทันที เช่น ตื่นขึ้นมาแล้วหูข้างหนึ่งอื้อหรือได้ยินลดลงจนถึงขั้นดับไปเลย โดยไม่มีสาเหตุอะไรนำมาก่อนและสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกอายุ ส่วนมากกลุ่มเสี่ยงคือผู้ใหญ่ โดยเพศชายและหญิงมีอัตราการเกิดภาวะหูดับพอ ๆ กัน
ภาวะหูดับไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักเกิดขึ้นบริเวณหูชั้นใน สามารถระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดได้หลายอย่าง อาทิเช่น มีการติดเชื้อ มีเนื้องอก มีการขาดเลือดที่จุดในหูชั้นใน ซึ่งหูชั้นในเป็นอวัยวะที่เล็กมาก เส้นเลือดจึงเป็นเส้นเลือดที่เล็กมากเช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อเกิดอาการขาดเลือดก็ส่งผลต่อภาวะหูดับได้
การเจาะเลือดเพื่อตรวจภาวะการอักเสบติดเชื้อ เช่น เชื้อซิฟิลิส อาจทำให้มีอาการประสาทหูดับฉับพลัน หรืออาจจะต้องตรวจประสาทก้านสมอง เพื่อดูว่ามีเนื้องอกตรงเส้นประสาทหรือไม่ บางทีเนื้องอกจะค่อย ๆ โตขึ้นเรื่อย ๆ ตอนที่เนื้องอกยังเล็ก ๆ มักจะไม่ส่งผลต่อภาวะหูดับ แต่พอมันใหญ่ขึ้นก็จะไปเบียดกดทับประสาทการได้ยิน หรือแม้แต่การตรวจผลเลือดอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ภาวะไขมันในเลือดสูง เรื่องความเข้มข้นเลือด หรืออาจจะมีสาเหตุจากโรคอื่นที่ไม่ชัดเจน เป็นต้น
เนื่องจากหูดับเกิดขึ้นบริเวณหูชั้นใน..จึงไม่สามารถตรวจหรือมองเห็นได้ แพทย์ผู้รักษาจึงต้องทำการตรวจหาสาเหตุต่างๆ โดยอาจจะเป็นการเจาะเลือด การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หรือว่าการตรวจพื้นฐานในเรื่องของการได้ยิน หากไม่สามารถหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ อาจจะเกิดขึ้นเพราะมีการติดเชื้อ แพทย์จะให้ยาลดการอักเสบและสันนิษฐานว่าสาเหตุเกิดจากการอักเสบของหูชั้นใน
หลังจากการตรวจหาสาเหตุเบื้องต้นแล้ว แพทย์จะพิจารณารักษาตามความรุนแรงของโรค เช่น บางคนมีภาวะหูดับ แต่ไม่ถึงกับดับไปเลย บางคนแค่เสียการได้ยินเหมือนหูตึง หรือบางคนดับไปเลย
หากเป็นไม่มาก ในเบื้องต้นแพทย์จะให้ยากิน และต้องอธิบายให้คนไข้ทราบว่าไม่รับประกันผลการรักษา เพราะภาวะดังกล่าวไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไร การให้ยากิน เป็นแนวทางที่จะช่วยลดการอักเสบภายในหูชั้นใน หลังจากกินยาแล้วไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาฉีดสเตียรอยด์ เข้าไปในแก้วหูชั้นในผ่านเยื่อแก้วหูเข้าไป เพื่อให้ตัวยาเหมือนไปขังในหูชั้นใน จากนั้น ตัวยาจะแทรกซึมเพื่อลดอาการอักเสบ ซึ่งการฉีดยาเข้าไปเป็นเพียงการเพิ่มโอกาสในการรักษาเท่านั้น
เมื่อไร? ที่ต้องฉีดสเตียรอยด์แก้วหู
การฉีดสเตียรอยด์แก้วหู ใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะหูดับฉับพลันหรือหูดับเท่านั้น ปริมาณในการฉีดขึ้นอยู่กับช่องของหูชั้นกลาง เวลาฉีดต้องฉีดผ่านเยื่อแก้วหู ซึ่งแพทย์จะพิจารณาปริมาณในการฉีดโดยดูปัจจัยหลักด้านกายวิภาคของคนไข้
การฉีดสเตียรอยด์เป็นทางเลือกในการรักษาที่แพทย์เลือกใช้บ่อย เนื่องจากจะช่วยลดอาการอักเสบที่เกิดขึ้น ผลข้างเคียงมีค่อนข้างน้อยเพราะเป็นการฉีดแค่เฉพาะที่ จึงไม่ค่อยส่งผลต่อระบบอื่นของร่างกาย คนไข้สามารถมาฉีดสัปดาห์ละหนึ่งครั้งติดต่อกันเป็นเวลาสามสัปดาห์ จากนั้นแพทย์ผู้รักษาจะติดตามผล ดูการตอบสนอง การรักษาอาการหูดับด้วยการฉีดสเตียรอยด์ใช้เวลาไม่นาน
โรคหูดับไม่ถึงแก่ชีวิต แต่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต
ภาวะหูดับไม่ใช่โรคที่ทำให้ถึงแก่ชีวิต แต่ว่าส่งผลต่อคุณภาพชีวิตค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องการฟัง การสื่อสาร ปกติคนไข้ที่ประสบภาวะหูดับ จะดับเพียงข้างเดียวและอีกข้างยังได้ยิน แต่คนไข้จะกังวลไม่สบายใจ และต้องใช้เวลาปรับตัวให้ชิน ดังนั้น แพทย์ที่รักษาต้องพยายามช่วยให้ดีที่สุด เพราะไม่ใช่รักษาเพียงแต่ภาวะหูดับเท่านั้น แต่ภาวะดังกล่าวยังส่งผลต่อโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการได้ยิน และจะส่งผลต่อสภาวะจิตใจของคนไข้
หูดับ...ไม่สามารถหายขาดได้
แพทย์ผู้รักษาต้องคุยกับคนไข้ให้เข้าใจว่าภาวะหูดับไม่สามารถรักษาให้หายได้สมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่มีสิ่งนำ ไม่มีเหตุการณ์มาก่อน และโรคนี้สามารถเกิดได้กับทุกคน และต้องอธิบายให้เขาฟังว่าที่เป็นไม่ใช่โรคที่รุนแรงที่ทำให้เขาถึงแก่ชีวิต โรคนี้ไม่ใช่โรคอันตราย และยังเกิดขึ้นได้กับทุกคน
แม้ว่าทั่วโลกยังไม่มีวิธีการรักษาที่แน่นอน แต่ทางการแพทย์ได้เสนอวิธีการรักษาที่ดีสุดเท่าที่มี เพื่อให้คนไข้ดีขึ้น ถึงแม้สุดท้ายไม่ประสบผลสำเร็จ...แต่โรคนี้ไม่ได้ทำให้คุณกลายเป็นผู้พิการ มันไม่ได้ทำให้คุณขาดความสามารถใด ๆ แต่คนไข้จะต้องปรับตัวกับการที่หูข้างหนึ่งได้ยินไม่เท่ากับอีกข้างหนึ่ง
การดูแลตนเอง..เมื่อเกิดภาวะหูดับ
แพทย์มีหน้าที่ต้องทำให้คนไข้ผ่อนคลายความกังวลลง รวมถึงให้คำแนะนำเรื่องการดูแล ป้องกันตนเองเมื่อเกิดภาวะหูดับฉับพลัน เมื่อหูอีกข้างได้ยินไม่สมบูรณ์เหมือนก่อน คนไข้ต้องหลีกเลี่ยงสถานที่เสียงดัง ๆ และต้องระวังปัจจัยที่จะมากระทบกับหูมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดภาวะหูดับกับหูอีกข้างซึ่งยังไม่มีอาการ
ขอขอบคุณ
พญ.นิชธิมา ฉายะโอภาส
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิกวิทยา ศูนย์หู คอ จมูก
โรงพยาบาลพญาไท2
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น