ลิมโฟไซต์ ( Lymphocytes )
ลิมโฟไซต์ (อังกฤษ: lymphocyte)
เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์มีกระดูกสันหลัง รวมถึงมนุษย์ อาจแบ่งออกเป็นเซลล์เอ็นเค (natural killer/NK cell, ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันแบบพื้นฐานและการทำลายเซลล์) เซลล์ที (ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวและการทำลายเซลล์) และเซลล์บี (ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว ทำงานผ่านแอนติบอดี) เป็นเซลล์ที่พบเป็นส่วนใหญ่ในระบบน้ำเหลือง (lymph) จึงได้ชื่อว่าลิมโฟไซต์ ("เซลล์น้ำเหลือง")
ลิมโฟไซต์ ( Lymphocytes )
ลิมโฟไซต์เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 ถึง 10 ไมโครเมตร มีหน้าที่เกี่ยวกับ การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะ แหล่งที่อยู่ของลิมโฟไซต์ คือ เนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่มีอยู่ทั่วร่างกาย ลิมโฟไซต์ที่มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ ได้แก่ ทีลิมโฟไซต์ ( T – Lymphocytes ) หรือเซลล์ที และบีลิมโฟไซต์ ( B – Lymphocytes ) หรือเซลล์บี ส่วนลิมโฟไซต์ที่มีนิวเคลียสขนาดเล็กกว่า ได้แก่พวกเซลล์นักฆ่า ( Natural Killer cell หรือ NK cell ) ซึ่งสำคัญในการฆ่าเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส และเซลล์มะเร็ง
เซลล์ที มีจุดกำเนิดจากเซลล์ตั้งต้นในไขกระดูก และพัฒนาเป็นเซลล์ทีในต่อมไทมัส ( Thymus gland ) ดังนั้นจึงเรียกเซลล์ที ทีลิมโฟไซต์เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันแบบอาศัยเซลล์ บนผิวเซลล์ทีมีตัวรับที่จำเพาะ ( Recepter ) ที่จะจับกับแอนติเจนที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงมีเซลล์ทีหลายชนิดที่จะจดจำแอนติเจนแต่ละชนิดที่เป็นสิ่งแปลกปลอม แบ่งเซลล์ทีออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. ไซโตทอกซิก เซลล์ที ( Cytotoxic T cell หรือ CD8+ ) บางทีเรียก เซลล์ทีนักฆ่า ( Killer T cells ) หรือเซลล์ทีที่ทำลายสิ่งแปลกปลอม ทำหน้าที่จะจำเซลล์ ที่มีแอนติเจนแปลกปลอมอยู่บนผิวเซลล์นั้น และทำลายเซลล์เหล่านั้น เช่น เซลล์มะเร็ง เซลล์ติดเชื้อไวรัส เซลล์จากอวัยวะที่ร่างกายได้รับการปลูกถ่าย
2. เซลล์ทีผู้ช่วย ( Helper T cell หรือ CD4+) ช่วยเซลล์ทีชนิดอื่นรวมทั้งเซลล์บีในการต่อต้านแอนติเจนที่แปลกปลอมเข้ามาในร่างกาย โดยกระตุ้นเซลล์บีให้สร้างแอนติบอดีออกมาต่อต้านเชื้อโรค
3. ซับเพรสเซอร์เซลล์ที ( Suppressor T cell ) ยับยั้งการทำงานของเซลล์ทีผู้ช่วย และไซโตทอกซิกเซลล์ที โดยควบคุมการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันไม่ให้มีมากเกินไป
เซลล์บี เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันโดยการสร้างแอนติบอดีจำเพาะในนก การพัฒนาของเซลล์บีเกิดขึ้นที่เบอร์ซา ออฟฟาบริเชียส ( Bursa of Fabricius ) ซึ่งเป็นอวัยวะน้ำเหลืองอยู่ใกล้กับโคลเอกา ( Cloaca ) ดังนั้นจึงเรียกเซลล์บี ( มาจากคำว่า Bursa ) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ไม่มี Bursa แต่ก็มีอวัยวะ อื่นเทียบเท่ากัน และในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคิดว่าเซลล์บีมีพัฒนาการอยู่ในไขกระดูก ( Bone marrow )
ในทำนองเดียวกับเซลล์ที เซลล์บีที่สร้างขึ้นจำนวนมากมาย แต่ละชนิดมีความจำเพาะกับแอนติเจนที่แตกต่างกัน เมื่อเซลล์บีได้มาสัมผัสกับแอนติเจสนแต่ละชนิดมันจะแบ่งตัวมากมายขึ้นและเปลี่ยนแปลงเป็น พลาสมาเซลล์ ( Plasma cells ) ที่สร้างแอนติบอดี หลังจากนี้พลาสมาเซลล์จะเปลี่ยนเป็น เมมมอรีเซลล์ ( Memmory cells ) ซึ่งมีอายุยืนยาวกว่า และสร้างแอนติบอดีปริมาณเล็กน้อยตลอดเวลา เมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคตัวเดิมเข้าไป แอนติบอดีที่มีอยู่นี้จะทำลายเชื้อโรคทันที ขณะเดียวกันเมมเมอรีเซลล์จะแบ่งตัวเพื่อสร้างพลาสมาเซลล์จำนวนมากอีก ทำให้สร้างแอนติบอดีได้ปริมาณมากกว่าและเร็วกว่าการสร้างในครั้งแรก และแอนติบอดีนี้อยู่ในร่างกายได้นานกว่าด้วย
เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์มีกระดูกสันหลัง รวมถึงมนุษย์ อาจแบ่งออกเป็นเซลล์เอ็นเค (natural killer/NK cell, ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกันแบบพื้นฐานและการทำลายเซลล์) เซลล์ที (ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัวและการทำลายเซลล์) และเซลล์บี (ระบบภูมิคุ้มกันแบบปรับตัว ทำงานผ่านแอนติบอดี) เป็นเซลล์ที่พบเป็นส่วนใหญ่ในระบบน้ำเหลือง (lymph) จึงได้ชื่อว่าลิมโฟไซต์ ("เซลล์น้ำเหลือง")
ลิมโฟไซต์เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 ถึง 10 ไมโครเมตร มีหน้าที่เกี่ยวกับ การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะ แหล่งที่อยู่ของลิมโฟไซต์ คือ เนื้อเยื่อน้ำเหลืองที่มีอยู่ทั่วร่างกาย ลิมโฟไซต์ที่มีนิวเคลียสขนาดใหญ่ ได้แก่ ทีลิมโฟไซต์ ( T – Lymphocytes ) หรือเซลล์ที และบีลิมโฟไซต์ ( B – Lymphocytes ) หรือเซลล์บี ส่วนลิมโฟไซต์ที่มีนิวเคลียสขนาดเล็กกว่า ได้แก่พวกเซลล์นักฆ่า ( Natural Killer cell หรือ NK cell ) ซึ่งสำคัญในการฆ่าเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส และเซลล์มะเร็ง
1. ไซโตทอกซิก เซลล์ที ( Cytotoxic T cell หรือ CD8+ ) บางทีเรียก เซลล์ทีนักฆ่า ( Killer T cells ) หรือเซลล์ทีที่ทำลายสิ่งแปลกปลอม ทำหน้าที่จะจำเซลล์ ที่มีแอนติเจนแปลกปลอมอยู่บนผิวเซลล์นั้น และทำลายเซลล์เหล่านั้น เช่น เซลล์มะเร็ง เซลล์ติดเชื้อไวรัส เซลล์จากอวัยวะที่ร่างกายได้รับการปลูกถ่าย
2. เซลล์ทีผู้ช่วย ( Helper T cell หรือ CD4+) ช่วยเซลล์ทีชนิดอื่นรวมทั้งเซลล์บีในการต่อต้านแอนติเจนที่แปลกปลอมเข้ามาในร่างกาย โดยกระตุ้นเซลล์บีให้สร้างแอนติบอดีออกมาต่อต้านเชื้อโรค
3. ซับเพรสเซอร์เซลล์ที ( Suppressor T cell ) ยับยั้งการทำงานของเซลล์ทีผู้ช่วย และไซโตทอกซิกเซลล์ที โดยควบคุมการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันไม่ให้มีมากเกินไป
เซลล์บี เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันโดยการสร้างแอนติบอดีจำเพาะในนก การพัฒนาของเซลล์บีเกิดขึ้นที่เบอร์ซา ออฟฟาบริเชียส ( Bursa of Fabricius ) ซึ่งเป็นอวัยวะน้ำเหลืองอยู่ใกล้กับโคลเอกา ( Cloaca ) ดังนั้นจึงเรียกเซลล์บี ( มาจากคำว่า Bursa ) ในสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ ไม่มี Bursa แต่ก็มีอวัยวะ อื่นเทียบเท่ากัน และในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคิดว่าเซลล์บีมีพัฒนาการอยู่ในไขกระดูก ( Bone marrow )
ในทำนองเดียวกับเซลล์ที เซลล์บีที่สร้างขึ้นจำนวนมากมาย แต่ละชนิดมีความจำเพาะกับแอนติเจนที่แตกต่างกัน เมื่อเซลล์บีได้มาสัมผัสกับแอนติเจสนแต่ละชนิดมันจะแบ่งตัวมากมายขึ้นและเปลี่ยนแปลงเป็น พลาสมาเซลล์ ( Plasma cells ) ที่สร้างแอนติบอดี หลังจากนี้พลาสมาเซลล์จะเปลี่ยนเป็น เมมมอรีเซลล์ ( Memmory cells ) ซึ่งมีอายุยืนยาวกว่า และสร้างแอนติบอดีปริมาณเล็กน้อยตลอดเวลา เมื่อร่างกายได้รับเชื้อโรคตัวเดิมเข้าไป แอนติบอดีที่มีอยู่นี้จะทำลายเชื้อโรคทันที ขณะเดียวกันเมมเมอรีเซลล์จะแบ่งตัวเพื่อสร้างพลาสมาเซลล์จำนวนมากอีก ทำให้สร้างแอนติบอดีได้ปริมาณมากกว่าและเร็วกว่าการสร้างในครั้งแรก และแอนติบอดีนี้อยู่ในร่างกายได้นานกว่าด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น