โรคที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน

ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน
granulocytopenia คือจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด granulocyte ลดน้อยลง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับยาที่กดการสร้างเม็ดเลือดขาว เช่น ยาต้านมะเร็ง หรือผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีซึ่งกดการทำงานของไขกระดูก เป็นเหตุให้ขาดเซลล์ที่ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรค จึงติดเชื้อแบคทีเรียได้โดยง่าย มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ ทำให้เม็ดเลือดขาวเสียหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกัน

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
ภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง เรียกว่า autoimmune disease เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันจำเซลล์ในร่ายกายไม่ได้ เข้าใจว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงสร้างภูมิต้านทานต่อเซลล์เหล่านั้นของร่างกายของตนเอง เกิดโรคต่างๆ มากมาย ขึ้นอยู่กับว่าเป็นภูมิต้านทานต่อเซลล์ชนิดใด เช่น โรค systemic lupus erythematosus (SLE) หรือที่เรารู้จักกันดีว่าโรคพุ่มพวง (ภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อหลายชนิดในร่างกาย) autoimmune hemolytic anemia (AIHA) (เม็ดเลือดแดงแตกจากภูมิต้านทานเม็ดเลือดแดง) idiopathic thrombocytopenic purpura (ITP) (เกล็ดเลือดถูกทำลายจากภูมิต้านทานเกล็ดเลือด) รูมาตอยด์ (ภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อรอบข้อ เป็นเหตุให้ข้ออักเสบเรื้อรัง)ภูมิไวเกิน ได้แก่ โรคภูมิแพ้ชนิดต่างๆ เกิดจากภูมิคุ้มกันตอบสนองไวเกินต่อสารก่อภูมิแพ้
        นอกจากนี้ยังพบภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ (ไม่ถึงขั้นบกพร่อง) ในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะผู้ที่คุมระดับกลูโคสในเลือดได้ไม่ดี ผู้ป่วยตับแข็ง ไตวายเรื้อรัง โลหิตจาง ขาดอาหาร ผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่ม steroid ซึ่งมีฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันเป็นเวลานาน ที่พบบ่อยคือผู้ที่กินยาชุด สมุนไพรบางชนิด ยาลูกกลอน ซึ่งผู้ผลิตมักผสม steroid ลงไปในยาเหล่านี้

โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
     เมื่ออายุมากขึ้น ระบบภูมิคุ้มกันซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมสมดลของร่างกายจะทำงานซับซ้อนยิ่งขึ้น  ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของระบบนี้คือ อาหาร อาหารเสริม และยาที่เรากิน ตลอดจนความเครียดต่างๆ ในชีวิตประจำัวัน

     แม้เราจะพยายามควบคุมระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานอย่างสมดุล  แต่ความผิดพลาดก็อาจเกิดขึ้นได้  บางครั้งระบบภูมิคุ้มกันอาจทำลายเนื้อเยื่อปกติของร่างกายเนื่องจากเข้าใจว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม หรือเกิดปฏิกิริยากับสิ่งที่ไม่มีอันตราย เช่น ละอองเกสร บางครั้งกลับไม่เกิดปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งกระตุ้นที่เป็นอันตราย  กระบวนการเหล่านี้มักทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อปกติ ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้นเหตุของโรคหลายชนิด ซึ่งจะขอกล่าวถึงพอสังเขป

     - โรคแอดดิสัน (Addison 's Disease)  โรคนี้เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายค่อยๆ ทำลายเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากไตชั้นนอกทีละน้อยๆ ทำให้การสร้างฮอร์โมน (โดยเฉพาะฮอร์โมนคอร์ติซอล) ลดลงจนไม่เพียงพอ อาการผิดปกติของโรคนี้คือ น้ำหนักตัวลดลง อ่อนเพลีย ไม่มีแรง และความดันเลือดต่ำ

     - โรคผมร่วงเป็นหย่อม  โรคนี้เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายรากผมของตนเองเนื่องจากเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเนื้อเยื่อแปลกปลอม ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม โดยเฉพาะบริเวณหนังศีรษะ หรือเครา  นอกจากนี้ยังทำให้การสร้างเส้นผมใหม่เกิดขึ้นช้ากว่าปกติ

     - โรคภูมิแพ้  คือปฏิกิริยามากเกินปกติของระบบภูมิคุ้มกันต่อสารที่ไม่เป็นอันตราย ทำให้เกิดอาการผิดปกติมากมาย เช่น คันตา น้ำตาไหล จาม น้ำมูกไหล และหอบหืด  ภาวะโพรงจมูกอักเสบตามฤดูกาลหรือโรคไข้ละอองฟาง  ซึ่งเป็นโรคภูมิแพ้ที่พบบ่อยมากโรคหนึ่ง เกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อละอองเกสรพืชชนิดต่างๆ

     - โรคเลือดจางจากไขกระดูกฝ่อ  เป็นโรคเลือดที่พบไม่บ่อยแต่มักเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต  เกิดจากไขกระดูกหยุดสร้างเม็ดเลือดโดยไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน  ปัจจัยที่คาดว่าเกี่ยวข้องกับโรคนี้คือ การได้รับรังสี ยาบางชนิด สารประกอบจำพวกเบนซิน เชื้อไวรัสบางชนิด เช่นไวรัสตับอักเสบ สารพิษจากสิ่งแวดล้อม และสารเคมีทางอุตสาหกรรม

     - หอบหืด  เป็นโรคปอดอักเสบชนิดหนึ่ง  ซึ่งทำให้หลอดลมตีบแคบลงและหายใจลำบาก อาการผิดปกติมักเกิดซ้ำได้บ่อยโดยมีเหตุกระตุ้นที่สำคัญคือ การติดเชื้อในทางเดินหายใจ การออกกำลังกาย และอากาศเย็น

     - โรคตับอักเสบจากภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์ตับ ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง  อาการของโรคนี้คือ อ่อนเพลีย ปวดตามข้อ ปวดแน่นท้อง และคันตามร่างกาย

     - โรคซิลิแอท (พบน้อยมากในคนไทย)  ผู้ป่วยโรคนี้จะไม่สามารถกินอาหารที่ีมีสารกลูเตนได้ กลูเตนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งพบในข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ และข้าวโอ้ต  เมื่อผู้ป่วยกินอาหารที่มีกลูเตนเข้าไป ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาต่อต้าน  ทำให้การดูดซึมอาหารผิดปกติ  โรคนี้จึงจัดเป็นทั้งโรคของระบบภูมิคุ้มกันและระบบดูดซึมอาหาร

     - โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเรื้อรัง  ความผิดปกติหลายประการในผู้ป่วยโรคนี้ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียอย่างรุนแรง  ร่วมกับต่อมน้ำเหลืองโตและกดเจ็บ  บางรายมีภาวะภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติร่วมด้วย  ยังไม่พบสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้

     - โรคโครห์น (พบน้อยมากในคนไทย)  เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันสร้างปฎิกิริยาทำลายผนังลำไส้จนเกิดการอักเสบเรื้อรัง  ผู้ป่วยจึงมีอาการท้องเสียเป็นพักๆ  ปวดเกร็งในช่องท้องอย่างรุนแรง มีไข้ เบื่ออาหารและน้ำหนักลด

     - โรคกูดปาสเจอร์  เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อปอดและไต  โรคนี้พบไม่บ่อยนัก  คาดว่าปัจจัยทางพันธุกรรมอาจเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่ง

     - โรคเกรฟส์ หรือโรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ  เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายต่อมไทยรอยด์ ทำให้ฮอร์โมนไทรอยด์ผลิตออกมามากผิดปกติ  ผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่าย ท้องเสีย เหงื่อออกง่าย นอนไม่หลับ และน้ำหนักลดลงทั้งที่กินอาหารได้ตามปกติ  รายที่รุนแรงอาจจะเป็นคอพอก (ต่อมไทรอยด์โต) หรือมีอาการตาโปนร่วมด้วย

     - โรคกิลแลง-บาร์เร  เกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันทำลายระบบประสาทบางส่วน  ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการติดเชื้อไวรัส  อาการของโรคจะเริ่มต้นจากการอ่อนแรงหรือชาบริเวณขา  บางครั้งอาจลุกลามไปที่แขนและร่างกายส่วนบน  จากนั้นจะเกิดอัมพาตบริเวณขาและแขนทั้ง 2 ข้าง  รวมทั้งกล้ามเนื้อควบคุมการหายใจและกล้ามเนื้อบนใบหน้า

      - โรคต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโต้  โรคนี้เป็นสาเหตุที่สำคัญของภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายต่อมไทรอยด์

     - ไวรัสเอชไอวีและโรคเอดส์  เชื้อเอชไอวีเป็นไวรัสในกลุ่มรีโทรไวรัสซึ่งสามารถทำลายหน่วยพันธุกรรมในเซลล์ได้  เมื่อไวรัสติดเชื้อเข้าไปภายในเซลล์  มันจะเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วโดยอาศัยกลไกการแบ่งตัวของเซลล์เป็นเครื่องมือ  จากนั้นไวรัสจะโจมตีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย  ในระยะแรกที่เริ่มติดเชื้อผู้ป่วยจะไม่มีอาการและมีสุขภาพปกติอยู่หลายปี  ทำให้ไม่ทราบว่าตนเป็นโรคเอดส์ จนกว่าจะเริ่มมีอาการของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสหรือมะเร็งบางชนิด  ซึ่งปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถจัดการกับโรคเหล่านี้ได้  อาการของโรคเอดส์จึงเป็นกลุ่มอาการของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสประเภทต่างๆ วิธีติดต่อของโรคนี้คือ ทางเพศสัมพันธ์ (เช่น เพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ทางช่องคลอด หรือทางปาก) และการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันซึ่งมักพบในกลุึ่มผู้ติดยาเสพติด

     - โรคเกล็ดเลือดต่ำชนิดไม่ทราบสาเหตุ  เกล็ดเลือดเป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิดหนึ่ง มีหน้าที่ป้องกันและควบคุมการไหลของเลือดโดยทำให้เลือดแข็งตัว โรคนี้เกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายเกล็ดเลือด ทำให้มีเลือดออกผิดปกติ เกิดรอยฟกช้ำง่าย เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล และถ่ายอุจจาระมีเลือดปน

     - โรคไตอักเสบจากภูมิต้านทานชนิด Iga  เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองที่มีการสะสมของภูมิต้านทานชนิด Iga ในเนื้อเยื่อไต

     - โรคลูปัส  เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองที่ทำให้เกิดความผิดปกติกับอวัยวะหลายแห่ง เช่น ข้อต่อ ผิวหนัง ไต หัวใจ ปอด หลอดเลือดและสมอง  ผู้ป่วยแต่ละคนมักมีอาการและความรุนแรงของโรคแตกต่้างกันไป  อาการหลักๆ ของโรคนี้คือ อ่อนเพลียมาก ปวดและบวมตามข้อ (ข้ออักเสบ มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ ผื่นผิวหนัง และไตทำงานผิดปกติ โรคลูปัสมีหลายประเภท เช่น เอสแอลอีซึ่งเป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุดและมีอาการรุนแรง อาการเบื้องต้นของโรคล฿ูปัสประเภทดิสคอยด์ลูปัสและลูปัสของผิวหนังคือ มีผื่นแดงขึ้นที่ผิวหนังและผิวแพ้แสงแดดง่าย

     - ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ  เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส รา หรือพยาธิบริเวณส่วนต่างๆ ของร่างกาย  แล้วลุกลามไปที่ต่อมน้ำเหลือง ทำให้ต่อมโตขึ้นและมีอาการปวดเื่องจากเซลล์ระบบภูมิคุ้มกันเพิ่มจำนวนมากขึ้น

     - โรคบวมจากท่อน้ำเหลืองอุดตัน  เป็นภาวะที่มีน้ำเหลืองไหลซึมออกจากท่อน้ำเหลืองและสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ  ทำให้เกิดอาการบวมตามร่างกายโดยเฉพาะแขนและขา  สาเหตุเกิดจากท่อน้ำเหลืองผิดปกติ ถูกทำลาย หรือมีการผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองทิ้งไป

     - โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง  หมายถึงโรคมะเร็งประเภทต่างๆ ที่เกิดจากเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์กลายเป็นมะเร็งและเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนเบียดบังการทำงานของเซลล์ฺปกติและทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตขึ้นเป็นก้อนเนื้องอก

     - โรคมัลติเปิล สเคลอโรซิส  เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองของระบบประสาทส่วนกลาง เยื่อหุ้มประสาทจะถูกทำลายทีละน้อยทำให้การส่งสัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทกับสมองถูกรบกวน  ผู้ป่วยจึงเกิดอาการสายตาผิดปกติ สูญเสียความรู้สึกสัมผัส เดินลำบาก หรือกล้ามเืนื้อมือทำงานผิดปกติทำให้เขียนหนังสือไม่ได้  ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนมากมักมีอาการกำเริบแบบเป็น หายๆ สลับกันไป

     - โรคไบแสทีเปียเทรวิส  เป็นโรคของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งเกิดความผิดปกติที่รอยต่อของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ  ทำให้กล้ามเนื้อบางมัดอ่อนแรง พบเป็นประจำคือกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและคอ เช่น กล้ามเนื้อที่ควบคุมการกลอกตา การแสดงสีหน้า การเคี้ยว การพูด และการกลืน

     - โรคเลือดจางเพอร์นิเซียส  เป็นโรคเลือดจางที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์กระเพาะอาหาร ทำให้ร่างกายดูดซึมวิตามินบี 12  ซึ่งจำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดงให้แก่ร่างกายได้น้อยลง ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการอ่อนเพลีย ซีดและเส้นประสาทถูกทำลาย

     - โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐมภูมิ  เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดจากความบกพร่องทางพันธุกรรม

     - โรคสะเก็ดเงินหรือโรคเรื้อนกวาง  เป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อย  อาการเด่นของโรคนี้คือผื่นนูนหนาและตกสะเก็ด  นักวิจัยเชื่อว่าสารเหตุของโรคนี้คือการทำงานผิดปกติของเม็ดเลือดขาวชนิดที-เซลล์ในผิวหนัง

     - โรคไรเกอร์  อาการเด่น 3 อย่างของโรคนี้คือ ข้ออักเสบ ตาแดง และการระคายเคืองของทางเดินปัสสาวะ อาการข้ออักเสบของโรคนี้เกิดจากปฎิกิริยาต่อเนื่องหลังการติดเชื้อบริเวณอื่นของร่างกาย  โดยเฉพาะโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อคลาไมเดีย หรือการติดเชื้อชัลโมเนลลาในลำไส้ โรคนี้พบไม่บ่อยนัก

     - ไข้รูมาติก  โรคนี้เป็นผลสืบเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตค็อกคัสกลุ่มเอในระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่ไม่ได้รับการรักษา  ไข้รูมาติกสามารถทำให้เนื้อเยื่อหัวใจพิการถาวรได้  ในประเทศตะวันตกพบโรคนี้น้อยมาก ไม่เกินร้อยละ 0.3 ของผู้ติดเชื้อที่ไม่ได้รับการรักษา

     - โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์  เป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองที่ทำให้เกิดอาการข้อบวม ปวด ติดขัดและเสื่อมสภาพ  โรคนี้แตกต่างจากข้ออักเสบชนิดอื่นตรงที่มักเกิดกับข้อหลายข้อเหมือนกันทั้งซีกซ้ายและขวาของร่างกาย และมักมีอาการอ่อนเพลียร่วมด้วย  แพทย์เชื่อว่าโรคนี้เกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัยพื้นฐาน  ปัจจัยแรกคือแนวโน้มทางพันธุกรรรมที่จะเกิดโรคนี้ และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมเช่น การติดเชื้อไวรัสซึ่งสามารถกระตุ้นให้เกิดโรคนี้

     - โรคผิวหนังแข็งหรือสเคลอโรเดอมา  เป็นโรคระบบภูมิคุ้มกันที่มีสารคอลลาเจนสะสมในผิวหนังเพิ่มขึ้นทำให้ผิวหนังหนาและแข็ง (คอลลาเจนเป็นสารในเนื้อเยื่อชนิดหนึ่งที่ช่วยให้ผิวหนังคงรูปและมีความยืดหยุ่น)  โรคนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ โรคผิวหนังแข็งเฉพาะที่ซึ่งมีอาการบนผิวหนังบางแห่ง และโรคผิวหนังแข็งทั่วร่างกายซึ่งอาจพบการทำลายเนื้อเยื่อปอด หัวใจหรือไตร่วมด้วย

     - โรคขาดภูมิต้านทานชนิด Iga เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐมภูมิที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่ง  ภูมิต้านทานชนิด Iga ในกระแสเลือดจะต่ำมากหรือไม่มีเลย  ทำให้มีโอกาสป่วยเป็นโรคอื่นได้ง่ายขึ้น เช่น โรคติดเืชื้อทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคภูมิแพ้ และหอบหืด

     - โรคภูมิต้านทานบกพร่องชนิดรุนแรง (SCID)  เป็นภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันทุกอย่างในร่างกายไม่ทำงาน  ทารกที่เป็นโรคนี้จะป่วยด้วยโรคติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง และมักเสียชีวิตภายในช่่วงขวบปีแรก  โรคนี้สามารถรักษาได้ด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก

     - โรคโจเกรน  ต่อมสร้างความชุ่มชื้นของร่างกาย เช่น ต่อมน้ำตาและต่อมบาร์โอลินในช่องคลอดของผู้ป่วยจะถูกเม็ดเลือดขาวทำลาย ทำให้เนื้อเยื่อขาดความชุ่มชื้นและการหล่อลื่น  บางครั้งโรคอาจลุกลามไปยังข้อต่อ ปอด กล้ามเนื้อ ไต เส้นประสาท ต่อมไทรอยด์ ตับ ตับอ่อน กระเพาะอาหาร และสมอง  ปัจจัยที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรคคือ การติดเชื้อไวรัส พันธุกรรมและฮอร์โมน

     - โรคเบาหวานประเภท 1  (บางครั้งเรียกว่าโรคเบาหวานชนิดต้องพึ่งอินซูลินหรือเบาหวานในวัยรุ่น)  เป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองแบบจำเพาะที่เกิดขึ้นกับเซลล์บางชนิด คือ เซลล์ผลิตอินซูลินในตับอ่อน  เซลล์เหล่านี้จะถูกทำลายก่อนจะสำแดงอาการในผู้ป่วยเป็นระยะเวลาหลายๆ เดือน หรืออาจจะนานเป็นปีๆ  พันธุกรรมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคนี้  นอกจากนี้ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม เช่น การติดเชื้อไวรัสก็อาจเป็นสิ่งกระตุ้นให้ผู้ป่วยสำแดงอาการของโรคเร็วขึ้น

     - โรคลำไส้อักเสบ  โรคนี้ทำให้เกิดอาการอักเสบ เป็นแผลบริเวณเยื่อบุชั้นบนของลำไส้ใหญ่  มักพบบ่อยบริเวณลำไส้ใหญ่ตอนล่าง  ในบางรายอาจเกิดการอักเสบตลอดทั้งลำไส้ใหญ่  โรคนี้มักเกิดจากความผิดปกติบางประการของระบบภูมิคุ้มกัน  ซึ่งแพทย์ยังไม่ทราบว่าความผิดปกติดังกล่าวเป็นสาเหตุหรือผลสืบเนื่องของโรคนี้  อารมณ์เครียดหรือการแพ้อาหารบางชนิดไม่ใช่สาเหตุของโรค  แม้ว่าผู้ป่วยหลายรายจะสังเกตุพบว่าปัจจัยดังกล่าวมักกระตุ้นให้เกิดอาการก็ตาม

     - โรคด่างขาว  เป็นความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน เป็นผลให้เม็ดสีหรือเซลล์เม็ดสีของผิวหนังถูกทำลาย  จึงเกิดเป็นรอยด่างขาวตามบริเวณต่างๆ ของผิวหนัง เช่น ปาก จมูก อวัยวะเพศ ทวรา และจอประสาทตาซึ่งเป็นบริเวณรับสัญญาณภาพในลูกตา  สาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจชัดเจนนัก  นักวิจัยคาดว่าอาจเกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายตนเองบางชนิดทำลายเซลล์เม็ดสีของร่างกาย

     - โรคหลอดเลือดอักเสบเวเจเนอร์  เป็นโรคหลอดเลือดอักเสบชนิดรุนแรงที่พบไม่บ่อยนัก  เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันกระตุ้นให้หลอดเลือดเกิดอาการอักเสบ  อวัยวะที่หลอดเลือดนั้นไปหล่อเลี้ยงจึงได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอและไม่สามารถจะทำงานได้ตามปกติ  นอกจากนั้นยังทำให้เนื้อเยื่อปกติที่อยู่ในระบบทางเดินหายใจและอวัยวะสำคัญถูกทำลายไปด้วย  โรคนี้พบได้ทุกช่วงอายุ แต่มักพบบ่อยในวัยกลางคน  การรักษาจำเป็นต้องใช้ยากดภูมิ (เช่น ยาไซโคลฟอสฟาไมด์)  ซึ่งเป็นยาที่มีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก
ที่มา :
ดร.ฤทธิ์ วัฒนชัยยิ่งเจริญ . ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต . พิมพ์ครั้งที่ 1 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด

โปรตีนจากสัตว์มีความแตกต่างจากโปรตีนจากพืชอย่างไร?

ลิมโฟไซต์ ( Lymphocytes )