โรคแผลในกระเพาะหรือลำไส้ส่วนต้น

http://edcpirote4.blogspot.com
โรคแผลในกระเพาะหรือลำไส้ส่วนต้น
"โรคแผลในกระเพาะหรือลำไส้ส่วนต้น" กับ "โรคกรดไหลย้อน" เป็นโรคคนละโรคกัน
 โรคกระเพาะติดเชื้อ หรือ โรคแผลในกระเพาะหรือลำไส้ส่วนต้น คืออะไร?

> เมื่อพูดถึง "โรคกระเพาะ" หลายๆท่านอาจสับสนระหว่าง "โรคกรดไหลย้อน" และ "โรคแผลในกระเพาะหรือลำไส้ส่วนต้น" ว่าเป็นโรคเดียวกันหรือไม่ ตอบว่า : ทั้ง 2 โรคนี้ เป็นโรคคนละโรค กันนะครับ

> โรคกรดไหลย้อน ภาวะการเกิดของโรค ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคแต่ประการใด แต่เกิดจากภาวะของกรดในกระเพาะค่อยๆไปทำลายเซลล์เยื้อบุผิวของ "หูรูด" (ส่วนบน) ของกระเพาะอาหารที่ต่อเนื่องมาจาก "หลอดอาหาร" (ส่วนล่าง) ทำให้หูรูดส่วนนั้นเกิดการอักเสบและอาจทำให้มีอาการแสบร้อนกลางหน้าอก ก่อนหรือหลังทานอาหาร สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องในการดำเนินชีวิตจึงทำให้เกิดโรคนี้ แต่ในส่วนของ โรคกระเพาะติดเชื้อ หรือ โรคแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ส่วนต้น นั้น

- สาเหตุที่แท้จริงของโรค เกิดจาก "เชื้อโรค" ที่ชื่อว่า เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร หรือเรียกย่อว่า เอช.ไพโลไร (Helicobacter pylori หรือย่อว่า H.pylori) เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งมักปะปนมาในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป
- การติดต่อของโรคมักเกิดขึ้นระหว่างคนสู่คน(ผ่านทางอาหารที่กินเข้าไป) โดยเมื่อเชื้อแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายแล้ว จะไปอาศัยอยู่ในผนังของกระเพาะอาหาร และทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร
- ผู้ติดเชื้อบางรายอาจจะไม่มีอาการใดๆ แต่ในบางราย เชื้ออาจทำให้เกิด โรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น รวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย
- โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้ เนื่องจากมียาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อชนิดนี้ แต่โรคนี้มักเป็นโรคเรื้อรัง เมื่อรักษาแผลหายแล้ว อาจยังมีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก

> โรคกระเพาะติดเชื้อ เอช.ไพโลไร มีอาการอย่างไร?
- ส่วนหนึ่งของผู้ที่ติดเชื้อเอชไพโลไรเข้าไปแล้ว อาจไม่มีอาการใดๆปรากฏก็ได้ ถ้าความรุนแรงของโรคยังไม่มากพอ
- ส่วนผู้ที่มีความรุนแรงของโรคค่อยๆเพิ่มขึ้น ก็มักจะมีอาการเหมือนอาการของโรคกระเพาะอาหารจากทุกสาเหตุ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง แน่นท้อง จุกเสียดลิ้นปี่ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย บางรายอาจมีอาการอิ่มเร็วหลังกินอาหาร หรือมีอาการหิวมากในตอนเช้าที่ตื่นนอน
- ส่วนในผู้ที่มีการอักเสบที่รุนแรงเกิดขึ้น จนเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหาร หรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น อาการดังกล่าวข้างต้นก็จะรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ อาจมีถ่ายอุจจาระเป็น "สีดำ" มีลักษณะเหมือน "ยางมะตอย" ได้ (อุจจาระเป็นเลือด) ซึ่งเกิดจากแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กที่มีเลือดออก ซึ่งส่วนใหญ่เลือดจะค่อยๆซึมออกจากแผล เมื่อเลือดค่อยๆไหลผ่านลำไส้ใหญ่ ธาตุเหล็กซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของเม็ดเลือดแดงจะทำปฏิกิริยากับอากาศทำให้มองเห็นเป็นสีดำ

> การรักษาโรคกระเพาะติดเชื้อ เอช.ไพโลไร ทำอย่างไร?
- แพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ร่วมกับการให้ยาลดกรด
> ผลของการรักษา
- ผู้ที่ได้รับยาปฏิชีวนะรักษาจนเชื้อแบคทีเรียหาย มีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้อีก แต่ค่อนข้างน้อย

- สำหรับ ผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น หากได้รับปฏิชีวนะรักษาจนเชื้อหายไป แผลจะสามารถหายเป็นปกติได้

> การปฏิบัติตัวเมื่อเป็น โรคกระเพาะติดเชื้อ หรือ โรคแผลในกระเพาะหรือลำไส้ส่วนต้น
- ควรกินยาที่แพทย์ให้มาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ขาดยา และ กินให้หมด(ครบจำนวน)ตามที่แพทย์สั่งมาให้ ไม่ว่าอาการจะดีขึ้นหรือไม่ก็ตาม เพราะหากทานยาไม่ครบหรือทานบ้างไม่ทานบ้าง อาจทำให้เชื้อดื้อยาได้
- ควรกินอาหารให้ตรงเวลา กินให้ครบทั้ง 3 มื้อ โดยเน้นอาหารที่มีใยอาหารสูง(ไฟเบอร์) เพื่อช่วยลดกรดในกระเพาะ จะได้ไม่ทำให้เกิดอาการแสบท้องหลังอาหาร
- รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย ในปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยๆ ไม่ควรรับประทานจนอิ่มในแต่ละมื้อ
- หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด อาหารหมัก/ดอง
- หลี่กเลี่ยง น้ำอัดลม และ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (ซึ่งกระตุ้นการหลั่งน้ำย่อย)
- ไม่สูบบุหรี่ และ ไม่ดื่มแอลกอฮอลล์(ทุกชนิด)
- พยายามผ่อนคลายความเครียดและวิตกกังวลทั้งหลาย
- ควรพักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
- ควรดูแลสุขอนามัยที่ดี เช่น ล้างมือก่อนจับอาหาร, การทานอาหารปรุงสุกใหม่ เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก http://haamor.com/th/โรคติดเชื้อเอชไพโลไร
-
- ส่วนในการดูแลสุขภาพพื้นฐานด้านโภชนาการ แนะนำ สารอาหารที่มีบทบาทในการเสริมสร้างซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ อาทิ โปรตีน(คุณภาพ)+วิตามินซี(ชนิดออกฤทธิ์นาน) เว้นแต่ ถ้ากินวิตามินซีแล้วแสบท้องก็อาจเว้นวิตามินซีไปก่อนโดยทานแต่โปรตีน
- หากขับถ่ายแล้วอุจจาระมี "สีดำ" อาจเป็นไปได้ว่า "มีเลือดออก" ในระบบทางเดินอาหาร กรณีนี้แนะนำให้กินสารอาหารที่มีบทบาทเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง อาทิ ธาตุเหล็ก+วิตามินบี(รวม)
- ควรระมัดระวังการใช้ยาแอสไพริน และยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูกทุกชนิด (เนื่องจากยากลุ่มนี้ลดการเกิดลิ่มเลือด อาจทำให้เลือดหยุดยากเมื่อเป็นแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งก็รวมถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางชนิด (ควรให้หายจากโรคนี้ก่อน) เช่น น้ำมันปลา กระเทียม กิงโก เป็นต้น

หมายเหตุ : ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยารักษาโรค จึงไม่สามารถอ้างอิงได้ว่านำมาใช้ในการ บำบัด บรรเทา ป้องกัน หรือ รักษาโรค

: วัตถุประสงค์ในการทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างเพียงพอและสมดุล นอกเหนือจากที่ได้รับในอาหารมื้อปกติ เพื่อร่างกายจะได้นำสารอาหารที่ได้นั้นไปใช้ประโยชน์ได้อย่างครบถ้วนครับ

ขอขอบคุณ เพจ ปู เปอร์ตีส

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรตีนจากสัตว์มีความแตกต่างจากโปรตีนจากพืชอย่างไร?

กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย