บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2018

หอบหืด

รูปภาพ
โรคหอบหืด คืออะไร อาการร้ายแรงไหม ? โรคหืด (Asthma) หรือที่คนทั่วไปมักเรียกหอบหืด เป็นโรคที่เกิดจากการหดตัวหรือตีบตันของระบบทางเดินหายใจ เยื่อบุผนังหลอดลมอักเสบ ทำให้ไวต่อสิ่งกระตุ้น หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายมากกว่าคนปกติ เกิดการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณหลอดลม ทำให้หายใจลำบาก หายใจมีเสียงวี้ด อากาศเข้าสู่ปอดน้อยลง หายใจไม่อิ่ม มีอาการไอ เจ็บหน้าอก โรคหืดเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ ถือว่าเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เช่น ส่งผลให้เกิดการพัฒนาช้า (ในเด็ก) ผู้ป่วยเรียนและทำงานได้ไม่เต็มที่ ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน หรือเล่นกีฬาได้อย่างเต็มที่ ยิ่งสภาพอากาศเกิดการแปรปรวน มลภาวะเป็นพิษมากขึ้นเท่าไหร่ ผู้ป่วยยิ่งได้รับผลกระทบในการดำเนินชีวิตมากขึ้นและส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ องค์กรอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคหืดทั่วโลกมีปริมาณสูงมากกว่า 300 ล้านคน ผู้ป่วยจึงควรหมั่นสังเกตตัวเอง และเตรียมพร้อมรับมือกับอาการที่อาจกำเริบขึ้น เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป เมื่อร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสา

โรคหูดับ

รูปภาพ
ไม่ร้ายแรง รักษาได้...แต่อาจไม่หายขาด ปัจจุบันภาวะประสาทหูดับฉับพลัน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “หูดับ” คือการที่มีภาวการณ์ได้ยินที่ลดลงจากเดิมฉับพลัน ยังไม่สามารถค้นพบสาเหตุที่แน่ชัดได้ และไม่มีอาการบ่งชี้ให้ทราบล่วงหน้า แต่จะเกิดขึ้นฉับพลันทันที เช่น  ตื่นขึ้นมาแล้วหูข้างหนึ่งอื้อหรือได้ยินลดลงจนถึงขั้นดับไปเลย โดยไม่มีสาเหตุอะไรนำมาก่อนและสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกอายุ  ส่วนมากกลุ่มเสี่ยงคือผู้ใหญ่ โดยเพศชายและหญิงมีอัตราการเกิดภาวะหูดับพอ ๆ กัน ภาวะหูดับไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่มักเกิดขึ้นบริเวณหูชั้นใน  สามารถระบุปัจจัยที่ทำให้เกิดได้หลายอย่าง  อาทิเช่น  มีการติดเชื้อ  มีเนื้องอก  มีการขาดเลือดที่จุดในหูชั้นใน ซึ่งหูชั้นในเป็นอวัยวะที่เล็กมาก เส้นเลือดจึงเป็นเส้นเลือดที่เล็กมากเช่นเดียวกัน  ดังนั้น  เมื่อเกิดอาการขาดเลือดก็ส่งผลต่อภาวะหูดับได้ การเจาะเลือดเพื่อตรวจภาวะการอักเสบติดเชื้อ เช่น เชื้อซิฟิลิส อาจทำให้มีอาการประสาทหูดับฉับพลัน หรืออาจจะต้องตรวจประสาทก้านสมอง  เพื่อดูว่ามีเนื้องอกตรงเส้นประสาทหรือไม่ บางทีเนื้องอกจะค่อย ๆ โตขึ้นเรื่อย ๆ  ตอนที่เนื้องอกยังเล็ก ๆ  มั

ลำไส้รั่ว

รูปภาพ
ลำไส้รั่ว อันตรายแค่ไหน?      ภาวะลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome) คืออะไร… คือการที่อาหารที่เรารับประทานเข้าไปหลุดออกมานอกลำไส้รึเปล่า?? ในความเป็นจริงก็คล้ายๆจะใช่ แต่ก็ไม่ตรงซะทีเดียว เพราะการเกิดลำไส้รั่วนั้นไม่ใช่เป็นการที่อาหารหลุดออกมานอกลำไส้ แต่เป็นการที่มีสารซึ่งไม่ใช่สารอาหารที่ถูกดูดซึมผ่านลำไส้ตามปกติ เล็ดลอดผ่านผนังลำไส้เข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือด โดยการเกิดที่ว่านี้จะเกิดขึ้นที่บริเวณ ‘tight junctions’ หรือเซลล์ดูดซึมสารอาหารของลำไส้เล็ก ซึ่งปกติแล้วเซลล์ส่วนนี้จะเรียงตัวชิดกันเป็นระเบียบ และมีการดูดซึมเฉพาะสารอาหารเข้าสู่ร่างกาย ส่วนสารพิษหรืออาหารที่ยังย่อยไม่สมบูรณ์จะถูกส่งผ่านและขับถ่ายออกจากร่างกายต่อไป แต่เมื่อเกิดภาวะลำไส้รั่วนั้นจะมีการบวมของเซลล์เยื่อบุผิวลำไส้ ทำให้เกิดช่องว่างที่บริเวณ ‘tight junctions’ ขึ้น (ตามภาพขวา) ซึ่งตรงช่องว่างนี้เองที่ทำให้สารพิษและอาหารที่ยังย่อยไม่สมบูรณ์เล็ดลอดเข้าไปสู่ระบบไหลเวียนเลือด และเป็นตัวก่อให้เกิดปัญหาการอักเสบต่างๆ ภายในร่างกายตามมาได้ สำหรับสาเหตุของลำไส้รั่วนั้น ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่คาดว่า ความเคร

กลูโคซามีน (glucosamine)

รูปภาพ
     "กลูโคซามีน" เป็นสารที่เป็นโครงสร้างหน่วยย่อย (building unit) ของ "ไคติน และ ไคโตซาน" ซึ่งเป็นสารที่พบมากในเปลือกกุ้ง กระดองปู แกนหมึก เปลือกของแมลง และผนังเซลของเห็ดราบางชนิด โดยในทางอุตสาหกรรมอาหาร "ไคติน" จะถูกย่อยสลายด้วยกรดและผ่านการทำบริสุทธิ์ เพื่อให้ได้ "กลูโคซามีน" ที่อยู่ในรูปบริสุทธิ์สูง ทั้งนี้ กลูโคซามีน ที่สามารถนำไปใช้บำบัดผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมจะต้องอยู่ในรูปของ กลูโคซามีน ซัลเฟต หรือ กลูโคซามีน ไฮโดรคลอไรด์ เพื่อใช้สำหรับรับประทาน ซึ่งมีคุณสมบัติละลายน้ำได้ดี สามารถถูกดูดซึมทางลำไส้ได้อย่างรวดเร็วเข้าสู่กระแสเลือด และเนื่องจากสารประกอบกลูโคซามีนทั้งสองน้ำหนักโมเลกุลต่ำ จึงทำให้สามารถซึมผ่านผนังหลอดเลือดผ่านน้ำในข้อ และเข้าสู่เซลล์ของกระดูกอ่อนผิวข้อได้โดยง่าย      ร่างกายของคนเรา "ไม่สามารถ" ผลิตเอ็นไซม์(น้ำย่อย)ที่ย่อย ไคติน และ ไคโตซาน ให้เป็น กลูโคซามีน ได้ ฉะนั้น การทานเปลือกกุ้ง กระดองปู แกนหมึก เปลือกของแมลง ในอาหารมื้อปกติ เพื่อหวังให้ร่างกายได้รับ "กลูโคซามีน" ก็คงทำไม่ได้เช่นกัน     ฉะนั้น หาก

เทคนิคสมองไบรท์

รูปภาพ
ร่างกายแข็งแรงสำหรับคนวัยทำงาน      คนในวัยทำงาน คือคนที่อยู่ในช่วงอายุ 15-64 ปี ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของประชากรไทย โดยคนกลุ่มนี้ถือว่าเป็นกำลังสำคัญของประเทศ อย่างไรก็ตามจากข้อมูลของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (พ.ศ. 2540) พบว่าคนในกลุ่มนี้ซึ่งควรจะเป็นกลุ่มที่มีสุขภาพแข็งแรง กลับเป็นครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตด้วยโรคที่สำคัญต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้นการป้องกันโรคที่ดีและการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมจึงน่าจะช่วยลดอัตราการเสียชืวิตและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แก่คนในวัยนี้ได้ work-life balance หรือความสมดุลระหว่าง “งาน” กับ “การใช้ชีวิต” ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ เนื่องจากในวัยทำงาน มักพบปัญหาจากการเสียสมดุลนี้ไป ซึ่งโดยส่วนใหญ่มีปัจจัยจากหน้าที่การงาน ภาระหน้าที่ของการเป็นพ่อแม่ หรือความเครียดทางการเงิน จนทำให้มีผลกระทบอื่นๆ ตามมา เช่น ภาวะเครียด โรคซึมเศร้า หรือปัญหาทางสุขภาพ เช่น ภาวะนอนไม่หลับ โรคหัวใจ โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน จนถึงปัญหาทางครอบครัวและสังคม ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวสำหรับคนวัยทำงาน นอนให้เพียงพอ : จากงานวิจัยของสมาคม Nation

เชื้อโรคในตัวคนและการติดเชื้อ

รูปภาพ
     ปกติในร่างกายหรือตามร่างกายคนเรา ก็จะมีเชื้อโรคปะปนอยู่แล้ว เป็นเหมือนภูมิคุ้มกันให้เรา เพราะอย่างที่บอก อะไรที่สะอาดเอี่ยมเกินไปก็มักจะไม่ปลอดภัย ออกจะออกแนวอ่อนแอเสียด้วยซ้ำ จนบางทีถึงกับถูกค่อนขอดว่าเป็นคุณหนู คุณนาย โดนอะไรนิดอะไรหน่อยก็มักจะเจ็บป่วยได้ง่าย เรามารู้จักเชื้อโรคในคนกันดูดีกว่ามันอยู่กับคนเราอย่างไร เชี้อโรคในตัวคน ตามปกติในร่างกายมนุษย์จะมีเชี้ออยู่ในหลายอวัยวะอยู่แล้ว โดยที่ไม่ทำให้เกิดโรค ลักษณะของเชี้อที่อยู่ในร่างกายที่ไม่ทำให้เกิดโรคนั้นเรียกว่า Normal Flora อวัยวะของร่างกายที่พบเชี้อปกติได้แก่ ผิวหนัง ทางเดินหายใจส่วนบน ช่องปาก ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ช่องคลอด ส่วนบริเวณที่พบเชี้อน้อยมากได้แก่ตา กระเพาะอาหาร อวัยวะที่ไม่พบเชี้อเลยได้แก่ ทางเดินหายใจส่วนล่าง กล้ามเนื้อ เลือดและสารน้ำในเลือด น้ำไขสันหลัง เยื่อบุช่องท้อง เยื่อบุหัวใจ เยื่อหุ้มสมอง เชี้อไม่ก่อโรคในร่างกายมนุษย์ มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น เชี้อ E. Coli ในลำไส้ ช่วยสังเคราะห์วิตามินเค, เชื้อไม่ก่อโรคช่วยในการสร้างภูมิต้านทานโรค, และเป็นตัวช่วยป้องกันเชี้อก่อโรคได้ อย่างไรก็ตามในคนที่ภูมิ