เชื้อโรคในตัวคนและการติดเชื้อ

     ปกติในร่างกายหรือตามร่างกายคนเรา ก็จะมีเชื้อโรคปะปนอยู่แล้ว เป็นเหมือนภูมิคุ้มกันให้เรา เพราะอย่างที่บอก อะไรที่สะอาดเอี่ยมเกินไปก็มักจะไม่ปลอดภัย ออกจะออกแนวอ่อนแอเสียด้วยซ้ำ จนบางทีถึงกับถูกค่อนขอดว่าเป็นคุณหนู คุณนาย โดนอะไรนิดอะไรหน่อยก็มักจะเจ็บป่วยได้ง่าย
เรามารู้จักเชื้อโรคในคนกันดูดีกว่ามันอยู่กับคนเราอย่างไร

เชี้อโรคในตัวคน
ตามปกติในร่างกายมนุษย์จะมีเชี้ออยู่ในหลายอวัยวะอยู่แล้ว โดยที่ไม่ทำให้เกิดโรค ลักษณะของเชี้อที่อยู่ในร่างกายที่ไม่ทำให้เกิดโรคนั้นเรียกว่า Normal Flora

อวัยวะของร่างกายที่พบเชี้อปกติได้แก่ ผิวหนัง ทางเดินหายใจส่วนบน ช่องปาก ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ช่องคลอด ส่วนบริเวณที่พบเชี้อน้อยมากได้แก่ตา กระเพาะอาหาร อวัยวะที่ไม่พบเชี้อเลยได้แก่ ทางเดินหายใจส่วนล่าง กล้ามเนื้อ เลือดและสารน้ำในเลือด น้ำไขสันหลัง เยื่อบุช่องท้อง เยื่อบุหัวใจ เยื่อหุ้มสมอง

เชี้อไม่ก่อโรคในร่างกายมนุษย์ มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น เชี้อ E. Coli ในลำไส้ ช่วยสังเคราะห์วิตามินเค, เชื้อไม่ก่อโรคช่วยในการสร้างภูมิต้านทานโรค, และเป็นตัวช่วยป้องกันเชี้อก่อโรคได้

อย่างไรก็ตามในคนที่ภูมิต้านทานอ่อนแอ เชี้อไม่ก่อโรคเหล่านี้ก็สามารถทำให้เกิดโรคได้เช่นกันที่เรียกว่า การติดเชื้อฉวยโอกาส(opportunistic infection)

ระยะของการติดเชี้อ 
การติดเชื้อโดยทั่วไปสามารถแบ่งเป็นระยะต่างๆดังนี้
ก. ระยะการรับเชื้อ(Entry of Pathogen) เชี้อจะเข้าตามอวัยวะต่าง ๆ ตามระบบ
ข. ระยะแบ่งตัวของเชี้อ(Colonization) โดยทั่วไปจะอยู่ในบริเวณที่รับเชื้อ
ค. ระยะฟักเชื้อ(Incubation Period) ระยะนี้เป็นระยะที่ไม่มีอาการเป็นระยะที่เริ่มตั้งแต่รับเชื้อจนเริ่มมีอาการ
ง. ระยะที่มีอาการนำ(Prodomal Symptoms) เป็นอาการที่พบได้ก่อนมีอาการอย่างเต็มที่
จ. ระยะลุกลาม(Invasive Period) อาการในระยะนี้จะประกอบด้วย อาการของโรคที่รุนแรงขึ้น ไข้สูง มีร่องรอยการอักเสบชัดเจนขึ้นอาจมีการบวม เนื้อเยื่อจะถูกทำลายมากขึ้น การอักเสบอาจลุกลามไปอวัยวะอื่นในร่างกาย อาการจะเป็นมากที่สุดในระยะนี้
ฉ. ระยะการอักเสบลดลง(Decline of Infection) การอักเสบเริ่มลดลง อาการทั่วไปของผู้ป่วยจะดีขึ้น
ช. ระยะพักฟี้น(Convalecscence) เมื่อการอักเสบลดลง ผู้ป่วยจะเริ่มฟื้นตัวขื้นและค่อยๆ หายตามปกติ

ขอบคุณที่มาจาก ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคติดเชื้อ (Infectious Disease) ผศ.(พิเศษ) ดร.นพ. คงเดช ลีโทชวลิต พบ. อว. เวชปฏิบัติทั่วไป, อว.เวชศาสตร์ครอบครัว, Ph.D.
ขอบคุณภาพจาก www.thaigoodview.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรตีนจากสัตว์มีความแตกต่างจากโปรตีนจากพืชอย่างไร?

กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย