บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2018

โรคที่เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน

รูปภาพ
ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน granulocytopenia คือจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด granulocyte ลดน้อยลง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับยาที่กดการสร้างเม็ดเลือดขาว เช่น ยาต้านมะเร็ง หรือผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีซึ่งกดการทำงานของไขกระดูก เป็นเหตุให้ขาดเซลล์ที่ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรค จึงติดเชื้อแบคทีเรียได้โดยง่าย มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ ทำให้เม็ดเลือดขาวเสียหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกัน ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง เรียกว่า autoimmune disease เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันจำเซลล์ในร่ายกายไม่ได้ เข้าใจว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงสร้างภูมิต้านทานต่อเซลล์เหล่านั้นของร่างกายของตนเอง เกิดโรคต่างๆ มากมาย ขึ้นอยู่กับว่าเป็นภูมิต้านทานต่อเซลล์ชนิดใด เช่น โรค systemic lupus erythematosus (SLE) หรือที่เรารู้จักกันดีว่าโรคพุ่มพวง (ภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อหลายชนิดในร่างกาย) autoimmune hemolytic anemia (AIHA) (เม็ดเลือดแดงแตกจากภูมิต้านทานเม็ดเลือดแดง) idiopathic thrombocytopenic purpura (ITP) (เกล็ดเลือดถูกทำลายจากภูมิต้านทานเกล็ดเลือด) รูมาตอยด์ (ภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อรอบข้อ เป็นเหตุให้ข้ออักเสบ

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

รูปภาพ
คุ้มกันของร่างกาย      ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune System) หนึ่งในกลไกการทำงานของร่างกายซึ่งมีหน้าที่ดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อในร่างกายมนุษย์ ถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วย ระบบภูมิคุ้มกันประกอบขึ้นด้วยสารเคมีที่สร้างขึ้นภายในร่างกายเพื่อใช้ต่อสู้กับการติดเชื้อ และเซลล์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ได้แก่ เซลล์เม็ดเลือดขาว โดยเซลล์ชนิดนี้จะถูกสร้างขึ้นภายในไขกระดูก จากนั้นจะเคลื่อนที่เข้าสู่กระแสเลือดและเนื้อเยื่อต่าง ๆ เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อ โดยเซลล์เหล่านี้จะเริ่มทำงานเมื่อมีเชื้อโรคอยู่ภายในร่างกายมากเกินไป หากภูมิคุ้มกันกำจัดเชื้อดังกล่าวออกไป ระบบภูมิคุ้มกันจะจดจำเชื้อโรคเหล่านั้นไว้ เมื่อมีเชื้อโรคดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง ระบบภูมิคุ้มกันก็จะกำจัดเชื้อโรคดังกล่าวออกไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่เพียงเท่านั้น ระบบภูมิคุ้มกันยังทำหน้าที่ในการผลิตโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า แอนติบอดี (Antibodies) มีฤทธิ์ในการต้านพิษที่เกิดจากการติดเชื้อหรือมาจากเชื้อโรคโดยตรง ทำให้ผู้ป่วยแม้จะเกิดอาการติดเชื้อก็จะค่อย ๆ มีอาการดีขึ้นตามลำดับ ระบบภูมิคุ้มกันแบ่งออกเป็น 3 ประเภทให

อาหารดี แต่ภูมิคุ้มกันน้อยลง

รูปภาพ
วิวัฒนาการอาหารดี แต่ภูมิคุ้มกันน้อยลง      ด้วยสภาวะการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน จากการเร่งรีบ และความต้องการความสะดวกเพื่อตอบโจทย์ในหลาย ๆ สถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นอาหารสำเร็จรูป อาหารที่ปรุงแต่งเพื่อเพิ่มรสชาติ ความสวยงาม รวมไปถึงการรักษาคุณภาพอาหารให้อยู่นานขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ แต่รู้หรือไม่ว่าอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน การแปรรูปต่าง ๆ ทำให้เหลือสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายลดน้อยลง แต่อาหารเหล่านี้กลับเป็นอาหารชั้นเลิศสำหรับจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีที่อาศัยอยู่ในร่างกายของเรา ในลำไส้ของเรามีจุลินทรีย์ทั้งที่ดีและไม่ดีอาศัยอยู่ด้วยกัน หากในลำไส้มีจุลินทรีย์ชนิดไม่ดีมากกว่า จะทำให้ลำไส้ของเราเสียสมดุล และส่งผลให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ก่อให้เกิดความอ่อนแอและเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา ดร.ชามีล่า ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโพรไบโอติก ได้ให้ความเห็นว่า “คนส่วนใหญ่มักคิดว่าระบบภูมิคุ้มกันและระบบทางเดินอาหาร ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน แต่ที่จริงแล้วทั้งสองระบบนี้มีความใกล้ชิดและสัมพันธ์กัน ภายใต้ระบบทางเดินอาหารนั้น มีอวัยวะในระบบภูมิคุ้มกันซ่อนอยู

โรคลำไส้ทำงานแปรปรวน ( โรคไอบีเอส )

รูปภาพ
โรคไอบีเอส โรคลำไส้ทำงานแปรปรวน โดย : รศ.นพ.อุดม คชินทร โรคไอบีเอสหรือโรคลำไส้ทำงานแปรปรวน เป็นโรคของลำไส้ที่ทำงานผิดปกติไป ทำให้เกิดการปวดท้องร่วมกับมีอาการท้องเสียหรือท้องผูก โรคไอบีเอส (IBS) หรือชื่อเต็มภาษาอังกฤษคือโรค Irritable Bowel Syndrome หรือในชื่อไทยคือโรคลำไส้ทำงานแปรปรวน โรคนี้ไม่ได้เป็นโรคใหม่ แต่เป็นโรคที่มีมานานแล้วเป็นโรคที่วินิจฉัยได้ยาก อาการของโรคไม่มีความเฉพาะเจาะจง แพทย์จึงไม่ค่อยได้มีการวินิจฉัยโรคนี้ ในปัจจุบันมีข้อมูลเกี่ยวกับโรคไอบีเอสให้ชัดเจนขึ้น จึงมีการวินิจฉัยโรคนี้เพิ่มมากขึ้น โรคไอบีเอสหรือโรคลำไส้ทำงานแปรปรวน เป็นโรคของลำไส้ที่ทำงานผิดปกติไป ทำให้เกิดการปวดท้องร่วมกับมีอาการท้องเสียหรือท้องผูก หรือท้องเสียสลับกับท้องผูก โดยที่ตรวจไม่พบความผิดปกติทางพยาธิสภาพที่ลำไส้ เช่น ส่องกล้องตรวจลำไส้จะไม่มีอาการ อักเสบ ไม่มีแผล ไม่มีเนื้องอกหรือมะเร็ง เป็นต้น และการตรวจเลือดต่างๆ ก็ไม่พบความผิดปกติ รวมทั้งไม่มีโรคของอวัยวะอื่นๆที่จะมีผลให้การทำงานของลำไส้ผิดปกติ เช่น โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ หรือโรคเบาหวาน เป็นต้น โรคไอบีเอสเป็นโรคเรื้อรัง มักเป็นๆหายๆหร

ไวรัสโรตา (Rotavirus)

รูปภาพ
ไวรัสโรต้า (Rotavirus) คืออะไร ?      ไวรัสโรต้า เป็น เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วงได้รุนแรงพอควรทีเดียว โดยเด็กที่ เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่แล้วจะมีอายุน้อยกว่า 2 ปี และเจ้าเชื้อนี้จะออกมาในอุจจาระ คือถ้าเด็กที่มีเชื้อนี้ อยู่ในร่างกายถ่ายออกมาแล้วบ้านนั้นมีการกำจัด อุจจาระ ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้เชื้อแพร่กระจาย ไปติดเด็กคนอื่นๆ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2561 นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า กรณีโรคท้องร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้านั้น ต้องขอชี้แจงเพื่อให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนกว่า เดิมเชื้อไวรัสโรต้ามักพบในเด็กอายุ 3 เดือนถึงอายุ 5 ปี แต่แนวโน้มในปัจจุบันเริ่มพบในผู้ใหญ่มากขึ้น จึงขอเรียนว่า จริงๆ แล้วไม่ต้องตระหนก สิ่งสำคัญคือการป้องกันด้วยการปฏิบัติตัว อย่างการรับประทานอาหารที่ปรุงร้อน สุกสะอาด หรือกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ สิ่งสำคัญเชื้อไวรัสชนิดนี้ติดต่อเข้าทางอาหารและน้ำ ดังนั้น จึงต้องแนะนำเด็กๆ ให้หัดล้างมือบ่อยๆ และการไปโรงเรียน หรือศูนย์เด็กเล็กต้องใช้อุปกรณ์ที่แยกจากกัน ไม่ปะปนกัน ตรงนี้จะเป็นการสร้างสุขนิสัยให้ดีต

พรีไบโอติกอาหารของจุลินทรีย์ที่เรียกว่าโปรไบโอติก

รูปภาพ
พรีไบโอติก อาหารของโปรไบโอติก      พรีไบโอติก คือ ส่วนประกอบของอาหารที่ไม่ถูกย่อยโดยเอ็นไซม์ในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์และสัตว์ ใยอาหารกลุ่มนี้จึงผ่านระบบทางเดินอาหารไปสู่บริเวณลำไส้ใหญ่ในสภาพที่สมบูรณ์ และกลายเป็นอาหารของจุลินทรีย์กลุ่มที่เป็นโปรไบโอติก เช่น บิฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacteria) และ แลคติค แอซิด แบคทีเรีย (Lactic Acid Bacteria) โดยแบคทีเรียย่อยใยอาหารกลุ่มนี้ซึ่งมักเป็น ใยอาหารกลุ่มที่ละลายน้ำจะได้สารบางชนิดที่เป็นประโยชน์ ซึ่งร่างกายนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้หลายชนิด เช่น กรดไขมันห่วงโซ่สั้น (Short Chain Fatty Acid) ซึ่งผลจากการย่อยทำให้ค่าความเป็นกรดด่างในลำไส้ลดลง เป็นการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ที่ก่อปัญหาไปในตัว อาหารที่มีสมบัติ เป็นพรีไบโอติก ได้แก่ ธัญพืช ผัก ผลไม้ ตัวอย่างของพรีไบโอติกที่คนเราควรได้รับเป็นประจำจาก อาหารที่รับประทาน ได้แก่ โอลิโกฟรุคโตส (Oligofructose) ฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ (Fructo Oligosaccharides) อินูลิน (Inulin) โพลีฟรุคโตส (Polyfructose) สารสกัดจากรากชิโครี (Chicory Root Extract) เป็นต้น ฟลุคโต โอลิโกแซคคาไรด์ (Fructo Oligosacchari

โปรไบโอติกส์ (Probiotics) จุลินทรีย์สุขภาพ

รูปภาพ
     ร่างกายของมนุษย์ทุกคนประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตซ่อนอยู่ภายในร่างกายอยู่ 2 ชนิด คือเซลร่างกายของเรามีอยู่ 60 ล้าน ล้านเซล และมีสิ่งมีชีวตอีกชนิดหนึ่งคือ แบคที่เรียดีอาศัยอยู่ที่สำไส้ของมนุษย์มีอยู่ 600 ล้าน ล้านตัว ทั้งสองส่วนอาศัยร่ามกันมาตั้งแต่มนุษย์ถือกำเนิดเกิดมาบนโลกนี้ตั้งแต่สมัยบรรพกาล ชีวิตมนุษย์ที่สามารถยืนหยัดมาจนถึงทุกวันนี้สิ่งมีชีวิตทั้งสองต่างเกื้อกูลกันตลอดมา      ปัจจบันมีการศึกษาและวิจัยเพิ่มเกี่ยวกับเรื่อง โปรไบโอติก พบว่า สิ่งมีชีวิตนี้เป็นภูมิคุ้มกันให้กับเชลร่างกาย เป็น หมอ พยาบาล ทหารและตำรวจ ปกป้องเซลของเรา เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีประโยชน์อย่างมาก เรามีโปรไบโอติกเพื่อเป็นภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงอีกทาง      โปรไบโอติกทำหน้าที่รักษาร่างกายจากโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดัน ภูมิแพ้ ข้อเสื่อ เข่าเสื่อม ผิวหนัง และอีกมากมาย โพรไบโอติก (Probiotics) เป็นจุลินทรีย์มีชีวิตที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหรือจุลินทรีย์ชนิดที่ดี มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกของคำว่า “Pro” ที่แปลว่า “ส่งเสริม” และ “Biotic” ซึ่งหมายถึง “ชีวิต” โดยมี Elie Metchnikoff ที่ถือว่าเป็น “บิดาของโพรไบโ