ไวรัสโรตา (Rotavirus)

ไวรัสโรต้า (Rotavirus) คืออะไร ?
     ไวรัสโรต้า เป็น เชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วงได้รุนแรงพอควรทีเดียว โดยเด็กที่ เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่แล้วจะมีอายุน้อยกว่า 2 ปี และเจ้าเชื้อนี้จะออกมาในอุจจาระ คือถ้าเด็กที่มีเชื้อนี้ อยู่ในร่างกายถ่ายออกมาแล้วบ้านนั้นมีการกำจัด อุจจาระ ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้เชื้อแพร่กระจาย ไปติดเด็กคนอื่นๆ
เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2561 นพ.อัษฎางค์ รวยอาจิณ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า กรณีโรคท้องร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้านั้น ต้องขอชี้แจงเพื่อให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนกว่า เดิมเชื้อไวรัสโรต้ามักพบในเด็กอายุ 3 เดือนถึงอายุ 5 ปี แต่แนวโน้มในปัจจุบันเริ่มพบในผู้ใหญ่มากขึ้น จึงขอเรียนว่า จริงๆ แล้วไม่ต้องตระหนก สิ่งสำคัญคือการป้องกันด้วยการปฏิบัติตัว อย่างการรับประทานอาหารที่ปรุงร้อน สุกสะอาด หรือกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ สิ่งสำคัญเชื้อไวรัสชนิดนี้ติดต่อเข้าทางอาหารและน้ำ ดังนั้น จึงต้องแนะนำเด็กๆ ให้หัดล้างมือบ่อยๆ และการไปโรงเรียน หรือศูนย์เด็กเล็กต้องใช้อุปกรณ์ที่แยกจากกัน ไม่ปะปนกัน ตรงนี้จะเป็นการสร้างสุขนิสัยให้ดีตั้งแต่เด็กๆ ได้ และป้องกันภาวะท้องร่วงจากเชื้อไวรัสนี้ได้

ผู้สื่อข่าวถามว่าแต่ปัจจุบันคนกังวลเนื่องจากพบในผู้ใหญ่ นพ.อัษฎางค์กล่าวว่า การที่พบในผู้ใหญ่เพราะมาจากการปฏิบัติตัว ทั้งอาหาร เราต้องเลือกอาหารที่สุก สะอาด และต้องล้างมือบ่อยๆ และต้องเลือกร้านที่มีคุณภาพ เรียกว่าพฤติกรรมการรับประทานก็เป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่มีทั้งร้อน ทั้งหนาว และมีฝนตก ซึ่งย่อมทำให้เชื้อไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงและแพร่กระจายได้ง่ายขึ้น และอาจทำให้คนที่สุขภาพไม่ดีไม่สามารถรับกับอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ จนทำให้เชื้อไวรัสเข้ามากระทบต่อสุขภาพ เกิดภาวะเจ็บป่วยง่ายขึ้น

เมื่อถามว่าการพบโรต้าไวรัสในผู้ใหญ่เพราะเชื้อเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ รองอธิบดี คร.กล่าวว่า เชื้ออาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ก็ได้ ซึ่งทางนักวิชาการของกรมติดตามเรื่องนี้อยู่ แต่ขณะเดียวกันสิ่งที่อยากเตือนคือ อากาศที่เปลี่ยนแปลงมีผลมาก ต้องดูแลร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ ทานอาหารที่มีคุณค่า และอะไรที่มีความเสี่ยงต่อร่างกาย อย่างเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่ก็ควรหลีกเลี่ยง และขอย้ำว่า เชื้อโรต้าไวรัส สามารถพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าจะพบในผู้ใหญ่ เพียงแต่ไม่ได้มาก แต่การเจ็บป่วยนั้นขึ้นอยู่กับร่างกาย รวมไปถึงปริมาณของเชื้อที่ได้รับ และสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยทั้งหมด ซึ่งช่วงนี้จะพบว่าคนป่วยอาหารเป็นพิษมากขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าอาหารเป็นพิษจะมาจากโรต้าไวรัสอย่างเดียว
ไวรัสโรตา (Rotavirus)
     ถ้าอยู่ๆ เจ้าตัวเล็กวัยน้อยกว่า 2 ขวบ มีอาการอาเจียน มีไข้ ท้องเสียถ่ายเป็นน้ำ เหมือนอาหารไม่ย่อย อุจจาระเป็นฟอง มีกลิ่นเปรี้ยวแล้วล่ะก็ สงสัยว่าเจ้าตัวเล็กจะโดนไวรัสโรต้าเล่นงานเข้าให้อยู่ได้ทุกที่หนีไม่พ้น
- โรต้าเป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อได้ง่ายมาก ชอบแฝงตัวอยู่ตามสิ่งของ เช่นของเล่นเด็ก และอยู่ได้นานเป็นวัน
- ถึงดูแลเรื่องความสะอาดของน้ำ อาหาร และที่อยู่เป็นอย่างดี ก็ยังป้องกันลูกรัก จากไวรัสโรต้าได้ไม่เต็มที่
- หากนำสิ่งของ หรือ มือที่เปื้อนเชื้อเข้าปาก ลูกน้อยก็ติดไวรัสได้อย่างง่ายดาย

อาการรุนแรงกว่าที่คิด
- ทารกทุกๆ 1 ใน 2 คนที่ป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วง จะต้องนำตัวเข้ารักษาในโรงพยาบาล มีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโรต้า
- เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบแทบทุกคนต้องเคยติดเชื้อ ไวรัสโรต้าอย่างน้อย 1 ครั้ง
- ไวรัสตัวป่วนนี้ทำให้เด็กทั่วโลก ต้องเข้าโรงพยาบาลมากกว่า 2 ล้านครั้งต่อปี
อายุน้อย ความเสี่ยงสูง

โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้านี้ จะพบได้มากสุดในช่วงอายุ 6-24 เดือนพบได้น้อยลงหลังอายุ 2 ปี จึงพบว่ายิ่งเด็กทารกที่มีอายุน้อยก็จะมีความสี่ยงสูงในการติดเชื้อไวรัสโร ต้า การติดเชื้อมักเริ่ม เกิดในช่วงอายุตั้งแต่ 3 เดือนโรคนี้มักจะทำให้อาเจียนและถ่ายบ่อย และเมื่อเด็กถ่ายมากๆ จนขาด น้ำ ไม่สามารถจะช่วยเหลือตัวเอง หาน้ำมากินได้เหมือนเด็กโตหรือผู้ใหญ่

จะปกป้องลูกจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้อย่างไร ?
- สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำได้คือรักษาสุขอนามัยของสมาชิกในบ้าน และบริเวณที่ลูกชอบไปเล่น รวมถึงของเล่นต่างๆ อีกทั้งควรล้างมือให้ลูกบ่อยๆ
- การดื่มนมแม่ จะช่วยให้ลูกมีภูมิต้านทานโรคได้ในระดับหนึ่ง
- การเสริมสร้างภูมิต้านทานด้วยวัคซีนชนิด กิน วิธีนี้สะดวกได้ผลดี โดยพาลูกไปรับวัคซีน 2 ครั้ง เมื่ออายุครบ 2 เดือน และ 4 เดือน สามารถลดความรุนแรงของโรค และความจำเป็นที่จะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลหากได้รับเชื้อ

ปรึกษากุมารแพทย์
หากลูกน้อยอาเจียน ท้องเสีย ปวดท้องและมีไข้ อาจเป็นสัญญาณของโรคลำไส้อักเสบจากเชื้อไว รัสโรต้า คุณพ่อคุณแม่ควรให้น้ำและเกลือแร่ชดเชย เพื่อป้องกันการขาดน้ำ แต่หลังสังเกตว่าลูกเริ่ม มีอาการขาดน้ำ ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลทันที หรือขอคำแนะนำจากกุมารแพทย์

ที่มา : พญ.ดนยา เหมธัญ
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ

เมื่อติดเชื้อไวรัสโรต้าแล้วจะมีอาการอย่างไร ?
หลังได้รับเชื้อ 1-2 วัน ทารก และเด็กเล็กจะอาเจียน มีไข้ และถ่ายเหลว อาการอาจเรื้อรังนาน 9 วัน – 3 สัปดาห์ การถ่ายเหลวเป็นเวลานานทำให้เด็กขาดน้ำ และเกลือแร่มาก จนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล วึ่งบั่นทอนสุขภาพของเด็ก และสร้างความเครียดให้คุณพ่อคุณแม่ ถ้าติดเชื้อแล้วจะรักษาอย่างไร ? เนื่องจากโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส ปัจจุบันไม่มียารักษาเฉพาะ แต่คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยเหลือลูก เบื้องต้นได้ เช่น เมื่อลูกขาดน้ำ และเกลือแร่ ก็ทำให้น้ำ และเกลือแร่ทดแทนทางปาก แต่ถ้าลูกมี ภาวะขาดน้ำอย่างรวดเร็วและรุนแรง คุณพ่อคุณแม่ควรรีบพาลูกส่งโรงพยาบาลทันที

การรักษา
ไม่มียารักษาโดยเฉพาะ การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการและการรักษาแบบประคับประคอง ได้แก่
- ถ้ามีไข้ ควรให้ยาลดไข้ ร่วมกับการเช็ดตัวเพื่อลดไข้เป็นระยะ
- ให้สารน้ำโดยการรับประทานหรือการให้เข้าทางเส้นเลือด เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขภาวะขาดน้ำ
- ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ถ้าผู้ป่วยมีคลื่นไส้หรืออาเจียนให้พิจารณาให้ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน, มีภาวะพร่องแลคเตสให้พิจารณาเปลี่ยนนมเป็นนมที่ไม่มีแลคโตส ( Free Lactose)
- ให้ผู้ป่วยรับประทานทานอาหารอ่อน รสไม่จัด ควรให้อาหารและน้ำทีละน้อยๆ แต่ให้บ่อยๆ
นอนพักผ่อน

ปกป้องลูกจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้อย่างไร ?
- สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำได้คือรักษาสุขอนามัยของสมาชิกในบ้าน และบริเวณที่ลูกชอบไปเล่น รวมถึงของเล่นต่างๆ อีกทั้งควรล้างมือให้ลูกบ่อยๆ
- การดื่มนมแม่ จะช่วยให้ลูกมีภูมิต้านทานโรคได้ในระดับหนึ่ง
- การเสริมสร้างภูมิต้านทานด้วยวัคซีนชนิด กิน วิธีนี้สะดวกได้ผลดี โดยพาลูกไปรับวัคซีน 2 ครั้ง เมื่ออายุครบ 2 เดือน และ 4 เดือน สามารถลดความรุนแรงของโรค และความจำเป็นที่จะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลหากได้รับเชื้อ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรตีนจากสัตว์มีความแตกต่างจากโปรตีนจากพืชอย่างไร?

กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย