การดูแลต่อมไทรอยด์

http://edcpirote4.blogspot.com
ต่อมไทรอยด์
     ควบคุมระบบเผาผลาญของร่างกายของคุณและการทำการที่สำคัญต่างๆของร่างกาย
ต่อมไทรอยด์เป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายผีเสื้อและมีความยาวประมาณ 2 นิ้วในร่างกายของคุณซึ่งตั้งอยู่ใกล้ฐานของคอเหนือกระดูกไหปลาร้า ต่อมนี้หลั่งฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมเมตาบอลิซึมของคุณและกระบวนการสำคัญอื่นๆภายในร่างกาย บางครั้ง กระดูกอ่อนไทรอยด์ที่สามารถมองเห็นได้จะเรียกกันว่าลูกกระเดือก ต่อมไทรอยด์เป็นส่วนหนึ่งของระบบต่อมไร้ท่อซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยอวัยวะที่ผลิต กักเก็บและหลั่งฮอร์โมนเข้าไปสู่กระแสเลือด

- ต่อมไทรอยด์ สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน จากแร่ธาตุ "ไอโอดีน" ในอาหารที่กินเข้าไป เป็นวัตถุดิบ
- หน้าที่ของ "ไทรอยด์ฮอร์โมน" เกี่ยวกับการพัฒนาการของร่างกายและอวัยวะต่างๆ รวมทั้งระบบการเผาผลาญอาหารเพื่อให้เกิดพลังงานแก่ร่างกาย ออกฤทธิ์กระตุ้นทั่วร่างกาย ทำให้เซลล์ต่างๆ ทำงานเป็นปกติ อวัยวะที่กระตุ้นมากที่สุด คือ หัวใจ กับ ระบบประสาท

หน้าที่ของต่อมไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอกซีน (T4) และไตรไอโอโดไธโรนีน (T3) ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบเผาผลาญของร่างกายของคุณ(การที่ร่างกายของคุณใช้พลังงานต่างๆ) และส่งผลกระทบต่ออวัยวะเกือบทุกส่วนในร่างกายของคุณ ต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนเข้าไปในกระแสเลือดตลอดเวลา และยังผลิตฮอร์โมนในปริมาณมากเมื่อร่างกายของคุณต้องการพลังงานมากขึ้น และผลิตฮอร์โมนในปริมาณที่น้อยลงเมื่อร่างกายต้องการพลังงานน้อย

ฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ยังทำหน้าที่ในการควบคุม:
-อัตราการเต้นของหัวใจ
-การหายใจ
-การพัฒนาของสมอง
-ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
-อุณหภูมิของร่างกาย
-ประจำเดือน
-ระดับคอเลสเตอรอล
-น้ำหนักตัว
-การทำงานของระบบประสาท
     ความผิดปกติหรือโรคของต่อมไทรอยด์ มีมากมายหลายชนิด ในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ชนิด ซึ่งการวินิจฉัยโรคว่าเป็นชนิดใดนั้นเป็นดุลพินิจของแพทย์ผู้ให้การรักษา และการรักษาโรคของผู้ป่วยไทรอยด์ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ เพราะโรคไทรอยด์บางชนิดอาจต้องรับประทานยาไปตลอด
     การดูแลสุขภาพเพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี จำเป็นจะต้องพิจารณาก่อนว่าเป็นโรคไทรอยด์ชนิดใด เพราะการดูแลในแต่ละกลุ่มอาจแตกต่างกัน

      กรณีที่ 1 ไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism)   กรณีนี้ ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ "มากกว่าปกติ" ผู้ป่วยกลุ่มนี้ร่างกายจะมีระบบการเผาผลาญที่สูงกว่าปกติ อวัยวะต่างๆทำงานหนัก หากเป็นเรื้อรังจะผอมมาก เหนื่อยง่าย ใจสั่น ขี้ร้อน น้ำหนักลด เหงื่อออกเยอะ ผิวหนังเป็นปื้นหน้าขรุขระ บางรายตาโปน บางรายมีอาการแขนขาอ่อนแรง

 การรักษาทางการแพทย์ ได้แก่ การกินยาต้านไทรอยด์ หรือ การกลืนน้ำแร่ไอโอดีน หรือ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ (เพื่อให้ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยลง) ตามความเห็นของแพทย์

 การดูแลเรื่องของสารอาหาร ผู้ป่วยไฮเปอร์ไทรอยด์(Hyperthyroidism) ควรได้รับสารอาหารครบถ้วน(5 หมู่) และควรได้พลังงานจากอาหารอย่างเพียงพอ อาทิ
- โปรตีนคุณภาพ(ไขมันต่ำ) เช่น เนื้อปลา,ไก่ หรือ โปรตีนจากพืช อาทิ ถั่วเหลือง ถั่วต่างๆ ข้าวสาลี เป็นต้น
- คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง, แป้งขัดสีต่ำ(โฮลวีต), ธัญพืช (อาจทานมากกว่าคนปกติเพื่อให้ได้รับพลังงานเพียงพอ)
- ไขมัน เช่น กรดไขมันโอเมก้า-3 
- วิตามินบี
- วิตามินซี
- ผักและผลไม้รวมฯ / อุดมไปด้วย ไฟโตนิวเทรียนท์ ซึ่งให้คุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ (เนื่องจากร่างกายมีการเผาผลาญที่สูงกว่าคนปกติ อาจสร้างอนุมูลอิสระได้มากกว่าปกติ)
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ วันละ 8-10 แก้ว

 ข้อควรระวัง สำหรับกลุ่มไฮเปอร์ไทรอยด์ (Hyperthyroidism)
- ไม่ควรทานอาหารที่มีไอโอดีนสูง เช่น เกลือทะเล อาหารทะเล สาหร่ายทะเล 
- ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลมโคลา กาแฟ ชาเขียว (รวมถึง โปรตีนชาเขียว) เพราะอาจทำให้ใจสั่นได้ง่าย
>* กรณีต้องการเสริมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควรปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อพิจารณากลุ่มสารอาหารที่จะทานด้วย เช่น ควรระวังการทาน วิตามิน(รวม) เกลือแร่(รวม) ไฟโตนิวเทรียนท์ และ/หรือ ผลิตภัณฑ์ทดแทนมื้ออาหาร เนื่องจากมีส่วนประกอบของ"ไอโอดีน" รวมอยู่ด้วย หากต้องการทาน
ควรสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรประจำช็อปฯ ก่อนว่าจะทานได้หรือไม่
กรณีที่ 2 ไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) กรณีนี้ ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ "น้อยกว่าปกติ" ผู้ป่วยกลุ่มนี้ร่างกายจะมีการเผาผลาญที่ต่ำกว่าปกติ อวัยวะต่างๆทำงานได้น้อย ความคิดช้า เฉื่อยชา ง่วงนอน น้ำหนักขึ้น ขี้หนาว ผมร่วง ผิวแห้งหยาบ ตัวบวม หน้าบวม เป็นตะคริวบ่อย ท้องผูก อาการเหล่านี้มักค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ได้รับการวินิจฉัยล่าช้า หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีผลเสียต่อระบบหัวใจและระบบไขมันในเลือดได้
      การรักษาทางการแพทย์ อาจต้องรับประทานยาที่เป็นไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมักต้องรับประทานตลอดชีวิต (ตามความเห็นของแพทย์)
      การดูแลเรื่องของสารอาหาร ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์(Hypothyroidism) ควรได้รับสารอาหารครบถ้วน(5 หมู่) ได้แก่
- โปรตีนคุณภาพ(ไขมันต่ำ) เช่น เนื้อปลา,ไก่ หรือ โปรตีนจากพืช อาทิ ถั่วเหลือง ถั่วต่างๆ ข้าวสาลี เป็นต้น
- คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง, แป้งขัดสีต่ำ(โฮลวีต), ธัญพืช แต่ไม่ควรทานแป้งขัดขาว และ น้ำตาลสูง (ควรจำกัดพลังงาน)
- ไขมัน เช่น กรดไขมันโอเมก้า-3 , ส่วนกรดไขมันโอเมก้า-6 ประเภท น้ำมันพืชต่างๆ (ของทอด,ผัด) ไม่ควรทานมากเกินไป (ควรจำกัดพลังงาน)
- วิตามิน, เกลือแร่, ไฟโตนิวเทรียนท์ 
- วิตามิน บี
- วิตามิน ซี
- สารอาหารที่ช่วยดูแลสุขภาพหลอดเลือดและหัวใจ (อาทิ กระเทียม, ชาเขียว, เลซิติน ช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอล)
- สารอาหารที่ช่วยดูแลน้ำหนักตัว (สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก,อ้วน)

 ข้อควรระวัง!!! สำหรับผู้ที่เป็นไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) 
     ควรหลีกเลี่ยง การทานผักตระกูลกะหล่ำปลีแบบดิบๆ เช่น กะหล่ำปลี(ดิบ) กะหล่ำดอก(ดิบ) บร็อกโคลี(ดิบ) เพราะในผักกลุ่มนี้จะมี "สารกอยโตรเจน" (Goitrogen) รวมถึง หลีกเลี่ยง แอล-คาร์นิทีน เนื่องจากสาร 2 ชนิดนี้ มีผลรบกวนการทำงานของต่อมไทรอยด์ ทำให้ร่างกายนำไอโอดีนในเลือดไปใช้ได้น้อย  สำหรับ สารกอยโตรเจน(ที่พบในกล่ำดิบ)นั้น ถ้าทำให้ผักสุกเสียก่อน เช่น นำไป ต้ม ผัด ให้สุก สารกอยโตรเจน ก็จะสลายไป และ สามารถทานผักที่สุกนั้นได้ตามปกติ

- ควรระมัดระวังอาหารที่มี แอล-คาร์นิทีน* เนื่องจากอาจไปขัดขวางการทำงานของไทรอยด์ฮอร์โมน แนะนำว่าถ้าจะกินควรขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อน (* จึงไม่ควรแนะนำ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ แอล-คาร์นิทีน รวมอยู่ด้วย เช่น โคคิวเท็น+ และ กาแฟแอมฟี่ เลสแคล ที่ผสม แอล-คาร์นิทีน) 

- ผู้ป่วยไฮโปไทรอยด์(อ้วนได้ง่าย) ควรจำกัดพลังงานจากอาหารให้น้อยลง(เพราะอ้วนได้ง่าย) จึงควรเลี่ยงหรือลดปริมาณแป้งและน้ำตาล รวมทั้ง ไขมันจากอาหารลงบ้าง และ ควรออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อเพิ่มการเผาผลาญพลังงานให้มากขึ้น

> ในกรณี ผู้ป่วยด้วยโรคไทรอยด์ (ไม่ว่ากลุ่มใด) ต้องการลดน้ำหนัก โดยการเข้าคอร์สลดน้ำหนัก 
ก่อนเข้าคอร์สลดน้ำหนัก อาจต้องสอบถามจากเค้าก่อนนะครับว่าเค้าต้องทาน "ยา" บางชนิดอยู่หรือไม่
ถ้าเค้าต้องทานยา(ตามที่แพทย์ให้มา) แนะนำว่าให้นำ "ซองยา" หรือ "ชื่อของยา" ไปสอบถามจากเภสัชกรประจำช็อปฯก่อนนะครับว่า...ผลิตภัณฑ์กลุ่มช่วยลด/ควบคุมน้ำหนักที่จะแนะนำกับเค้านั้น จะมีผลต้านฤทธิ์ หรือ เสริมฤทธิ์ต่อกัน หรือไม่ 
(ซึ่งประเด็นนี้ผมไม่สามารถแนะนำได้ เนื่องจากผมไม่มีความรู้เรื่องของ"ยา"ครับ)
และถ้าเภสัชกรแนะนำอย่างไรแล้ว ผู้นำกลุ่ม ควรดูแลคนกลุ่มนี้อย่างใกล้ชิดด้วยนะครับ เช่น การติดตามผลเป็นประจำ การสอบถามด้านสุขภาพต่างๆ เช่น ระหว่างการลดน้ำหนักมีอาการอ่อนเพลียเกินไปหรือไม่, ใจสั่นผิดปกติหรือไม่ (อะไรทำนองนี้) เป็นต้น หากมีความผิดปกติ ก็อาจจะต้องสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรประจำช็อป เพื่อปรับการรับประทานอาหารให้มีพลังงานมากขึ้นตามความเหมาะสมต่อไป เป็นต้น

 ผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์*(ไม่ว่ากลุ่มใด) ควรอยู่ในความดุแลของแพทย์อย่างต่อเนื่อง กรณีต้องการเสริมผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรประจำช็อปฯ เพื่อให้ช่วยพิจารณากลุ่มสารอาหารที่จะทานด้วยนะครับ


หมายเหตุ : ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยารักษาโรค จึงไม่สามารถอ้างอิงในการใช้บำบัด บรรเทา ป้องกัน หรือ รักษาโรคได้ การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควรทานด้วยวัตถุประสงค์เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างเพียงพอและสมดุล

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรตีนจากสัตว์มีความแตกต่างจากโปรตีนจากพืชอย่างไร?

กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย