รักษามะเร็งด้วยใจที่ไม่ยอมแพ้ ต้องมีร่างกายที่พร้อมจะต่อสู้ ควบคู่กันไป

อาหารที่ดีต่อการรักษามะเร็ง
     เมื่อท่านทราบว่าเป็นโรคมะเร็ง หลายท่านจะกังวลกับการรักษา และผลข้างเคียงจากการรักษา จริงๆ แล้วหากได้รับข้อมูลทางโภชนาการที่ถูกต้อง ก็จะสามารถช่วยให้ผลข้างเคียงบรรเทาลงได้ ช่วยให้สุขภาพไม่ทรุดลงไปมากกว่าที่ควร ที่สำคัญบทความนี้เป็นบทความที่ตั้งใจให้ข้อมูลทางโภชนาการที่มีผลงานวิจัยทางการแพทย์ยืนยัน และมีการใช้จริงในโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ที่กำลังรักษาโรคมะเร็งได้มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ดูแลรักษาสุขภาพตัวเองด้วยอาหารที่ถูกต้อง
1. เข้าใจการรักษา 3 วิธี
2. ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น
3. วิธีดูแลอาหารเพื่อลดผลข้างเคียงสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง
4. อาหารเสริมที่ส่งผลดีกับการรักษามะเร็ง มีใช้จริงโดยแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ

เพราะใจที่ไม่ยอมแพ้ ต้องมีร่างกายที่พร้อมจะต่อสู้ ควบคู่กันไป
     มะเร็งแต่ละบริเวณของร่างกาย มีวิธีรักษาที่แตกต่างกัน แพทย์จะเป็นผู้ที่ตัดสินใจว่าจะรักษาแบบไหน ซึ่งแต่ละวิธีนั้น จะมีผลข้างเคียงจากการรักษาที่แตกต่างกันดังนี้

1. เคมีบำบัด (Chemotherapy)
คือ การรักษาด้วยยาเพื่อควบคุมหรือทำลายเซลล์มะเร็ง โดยการออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง และทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง และอาจมีผลข้างเคียงต่อเนื้อเยื่อปกติ
ระยะเวลาการรักษาทั่วไป : ขึ้นกับชนิดและระยะของโรคมะเร็ง และการตอบสนองของมะเร็งต่อตัวยา มักให้เป็นชุด ชุดละ 1-5 วัน ห่างกัน 3-4 สัปดาห์

2. รังสีรักษา (Radiation therapy)
คือ รักษาโดยใช้รังสีที่มีพลังงานสูง เช่น รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมม่า หรือ อนุภาคที่มีพลังงานสูง เช่น อิเลคตรอน โปรตอน หรือ นิวตรอน โดยฉายรังสีในบริเวณที่เป็นโรคและครอบคลุมไปถึงต่อมน้ำเหลืองที่อาจมีโรคแพร่กระจายไปด้วย รังสีจะฆ่าเซลล์ที่เติบโตเร็ว เช่น เซลล์มะเร็ง แต่เซลล์ในร่างกายที่แบ่งตัวเร็ว เช่น เซลล์ผิวหนัง เซลล์เยื่อบุลำไส้ ก็มีโอกาสถูกทำลายด้วย 
ระยะเวลาการรักษาทั่วไป : ฉายรังสี วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 5-15 นาที 5 ครั้งต่อสัปดาห์ จนครบได้ปริมาณรังสีตามแพทย์กำหนด (ประมาณ 10-35 ครั้ง)

3. การผ่าตัด (surgery)
มักทำในผู้ป่วยที่โรคมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่ตำแหน่งเริ่มต้น (มะเร็งระยะที่ 1) หรือในบางกรณีเพียงกระจายไปเนื้อเยื่อข้างเคียงหรือลุกลามทะลุผ่านอวัยวะที่เป็นโพรง (ระยะที่ 2) เท่านั้น ฉะนั้นจะเห็นว่ามักมีการรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา ซึ่งมีความสำคัญและเสริมให้ผลการผ่าตัดได้ผลดียิ่งขึ้น

ผลข้างเคียงจากการรักษา ขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล จึงไม่ใช่ทุกอาการที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับการดูแลตัวเอง ยาที่ใช้ การเข้ากันของยาที่ใช้ การกินอาหารที่ถูกต้องและเพียงพอ

ผลข้างเคียงจากการรักษาทั้ง 3 วิธี มีผลกับการกินอาหาร เพราะเมื่ออ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ มีแผลอักเสบในปาก ก็จะกินได้น้อยลง เริ่มน้ำหนักลด สูญเสียกล้ามเนื้อ ภูมิคุ้มกันต่ำ เกร็ดเลือดและเม็ดเลือดขาวต่ำ

เซลล์มะเร็งเอง ก็จะมีการการหลั่งสารที่ทำให้มีการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายเพิ่มขึ้นด้วย โปรตีนก็จะถูกดึงจากกล้ามเนื้อออกมาเผาผลาญ

ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ที่เป็นมะเร็งจึงต้องการสารอาหาร โดยเฉพาะโปรตีนมากกว่าคนทั่วไป เกิดเป็นความเชื่อที่ว่า “เซลล์มะเร็งกินโปรตีน” จึงมีหลายคนงดโปรตีน ซึ่งในทางการแพทย์ จะส่งผลเสียมากกว่าผลดี เพราะถึงแม้จะไม่กินโปรตีน ร่างกายก็จะไปสลายโปรตีนในกล้ามเนื้อออกมาอยู่ดี ในที่สุดจะยิ่งทำให้ร่างกายทรุดโทรม ขาดสารอาหาร จนไม่อาจทนต่อการรักษาได้ หรือไม่มีโปรตีนเพียงพอจะสร้างเม็ดเลือดขาว ต้องเลื่อนการรักษา (หากเม็ดเลือดขาวต่ำเกิน แพทย์จะเลื่อนการรักษาออกไป และให้ผู้ป่วยกินอาหารให้เยอะขึ้นเพื่อให้เม็ดเลือดขาวเพิ่มสูงขึ้น) ซึ่งหากเลื่อนการรักษา อาจทำให้เซลล์มะเร็งเติบโตขึ้นระหว่างนั้นได้

มีผลงานวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งหลายคน เสียชีวิตเกี่ยวกับโภชนาการดังนี้
สาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็ง 
50% จากการกินอาหารไม่ได้
20% จากการขาดสารอาหารมากกว่าโรคมะเร็ง
กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมะเร็ง มักมีน้ำหนักตัวลดลง
ส่งผลต่อการรักษา คุณภาพชีวิตและอัตราการรอดชีวิต

ดูแลร่างด้วยสารอาหารเพื่อลดอาการข้างเคียง
     อาหารเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยควรรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารเพียงพอและเหมาะสม ก่อน ระหว่างและหลังการรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้น ลดอาการแทรกซ้อน และมีความรู้สึกดีขึ้นมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคได้


ควรเลือกกินอะไร
1. อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา ไข่ นม ถั่ว ต่างๆ เพราะผู้ป่วยมะเร็งมีอัตราการสลายโปรตีนเพิ่มขึ้น การได้รับโปรตีนและกรดอะมิโนที่จำเป็นอย่างเพียงพอ จึงเป็นสิ่งสำคัญในผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน
2. อาหารที่ให้พลังงานสูง เนื่องจากผู้ป่วยมักกินอาหารได้ในปริมาณน้อย
3. กินผักผลไม้ให้ครบวันละ 5 สี จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีคุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้มะเร็งลุกลามได้ (ควรล้างให้สะอาด) เช่น มะเขือเทศ ดอกกะหล่ำ คะน้า แขนงผัก บล็อคโคลี ผักโขม กะหล่ำปลีสีม่วง ถั่ว ส้ม แก้วมังกรสีชมพู มะม่วง (สุก-ดิบ) เป็นต้น
4. กินไขมันจากปลา เพราะน้ำมันปลามีกรดโอเมก้า 3 ช่วยลดการอักเสบ เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่น้ำหนักตัวน้อย และ ไม่ควรกินอาหารที่มีไขมันจากสัตว์ที่เป็นไขมันอิ่มตัวมาก เช่น หนังติดมัน น้ำมันหมู เพราะสามารถถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งได้
5. กินมื้อใหญ่ในช่วงเช้า และแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ หลายมื้อ ช่วยให้กินอาหารได้มากขึ้น

วิปัสนาฆ่ามะเร็ง

ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานมีมากมายยากที่จะอธิบายให้เห็นจริงได้ จนกว่าผู้นั้นได้ลงมือปฏิบัติจนได้เห็นผลจริงด้วยตนเอง

ขอขอบคุณข้อมูล และรูปภาพ
nestlehealthscience-th.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรตีนจากสัตว์มีความแตกต่างจากโปรตีนจากพืชอย่างไร?

กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย