หอบหืด

โรคหอบหืด คืออะไร อาการร้ายแรงไหม ?
โรคหืด (Asthma) หรือที่คนทั่วไปมักเรียกหอบหืด เป็นโรคที่เกิดจากการหดตัวหรือตีบตันของระบบทางเดินหายใจ เยื่อบุผนังหลอดลมอักเสบ ทำให้ไวต่อสิ่งกระตุ้น หรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายมากกว่าคนปกติ เกิดการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณหลอดลม ทำให้หายใจลำบาก หายใจมีเสียงวี้ด อากาศเข้าสู่ปอดน้อยลง หายใจไม่อิ่ม มีอาการไอ เจ็บหน้าอก

โรคหืดเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดได้ทั้งกับเด็กและผู้ใหญ่ ถือว่าเป็นโรคที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก เช่น ส่งผลให้เกิดการพัฒนาช้า (ในเด็ก) ผู้ป่วยเรียนและทำงานได้ไม่เต็มที่ ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน หรือเล่นกีฬาได้อย่างเต็มที่ ยิ่งสภาพอากาศเกิดการแปรปรวน มลภาวะเป็นพิษมากขึ้นเท่าไหร่ ผู้ป่วยยิ่งได้รับผลกระทบในการดำเนินชีวิตมากขึ้นและส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ องค์กรอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคหืดทั่วโลกมีปริมาณสูงมากกว่า 300 ล้านคน ผู้ป่วยจึงควรหมั่นสังเกตตัวเอง และเตรียมพร้อมรับมือกับอาการที่อาจกำเริบขึ้น เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

เมื่อร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารภูมิแพ้รอบข้าง หรือสารกระตุ้นใด ๆ ที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ก็อาจจะเกิดอาการดัง 3 ลักษณะนี้ จนทำให้กล้ามเนื้อหลอดลมตีบตัน

          1. การหดตัวของกล้ามเนื้อรอบ ๆ หลอดลม
          2. การบวมอักเสบของเยื่อบุภายในหลอดลม
          3. เสมหะจำนวนมากที่คั่งค้างอยู่ในหลอดลม
อาการหอบหืด สังเกตได้จากอะไร

          อาการหอบหืดมีอยู่หลายลักษณะด้วยกัน จำแนกได้ตามระดับความรุนแรงของอาการ ซึ่งมีตั้งแต่อาการหอบหืดไม่รุนแรง ปานกลาง และหนัก โดยสังเกตได้จากอาการเบื้องต้นดังนี้

          - ไอ หอบไอ
          - แน่นหน้าอก
          - หายใจมีเสียงหวีด
          - หายใจสั้นและลำบาก

          อาการหอบหืดดังกล่าวมักจะเป็น ๆ หาย ๆ แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการหอบไอจะค่อนข้างหนักในตอนเช้า เวลาวิ่งเล่น ออกแรงมาก ๆ และตอนกลางคืน หรือในช่วงที่สัมผัสกับสิ่งที่แพ้หรือระคายเคือง

          แต่อย่างไรก็ตาม มูลนิธิโรคหืดแห่งประเทศไทยแนะว่าผู้ป่วยโรคหอบหืดสามารถประเมินความรุนแรงของโรคด้วยตัวเองได้ โดยดูลักษณะอาการทางคลินิก และการทดสอบสมรรถภาพปอดอย่างง่ายด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า PEAK FLOWMETER และมาเปรียบเทียบอาการตามตารางด้านล่างนี้
โรคหอบหืด การรักษาทำอย่างไรได้บ้าง
   
           อาการของโรคหอบหืดจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้ด้อยกว่าคนปกติทั่วไป เช่น ทำให้ไม่สามารถนอนหลับได้ตามปกติ, ทำให้เรียนและทำงานได้ไม่เต็มที่, ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน หรือเล่นกีฬาได้ตามปกติ ในเด็กอาจเจริญเติบโตน้อยกว่าปกติ หรือมีพัฒนาการเรียนรู้ที่ช้าได้

          นอกจากนั้นการที่ไม่ได้รักษาโรคนี้อย่างถูกต้อง อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือเสียชีวิตได้จากสมองขาดออกซิเจน

อาการของหอบหืด จะเกิดแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางรายจะมีอาการเป็นพัก ๆ แล้วหาย แต่บางรายเป็นอย่างต่อเนื่อง และจะเกิดขึ้นเวลาใดนั้นไม่สามารถคาดเดาได้

อาการโดยทั่วไปของผู้ป่วยหอบหืด ได้แก่
มีปัญหาเรื่องการหายใจ ผู้ป่วยหายใจสั้น หายใจลำบาก หรือหายใจไม่อิ่ม หรือหายใจแล้วมีเสียงวี้ด ซึ่งสร้างความทรมานให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
มีอาการเจ็บหน้าอก หรือมีอาการแน่นหน้าอก มักจะมาพร้อมกับอาการเหนื่อยหอบ
มีอาการไอ
มีปัญหาในการนอนหลับ โดยปัญหามาจากการหายใจลำบาก หรือการหายใจติดขัด ส่งผลให้หลับไม่สนิท หรือหลับไม่เต็มอิ่ม
อาการของหอบหืดที่รุนแรงที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ซึ่งมีความอันตรายถึงชีวิต มีดังนี้

อาการหายใจหอบถี่ หรือหายใจลำบากมีเสียง แย่ลงอย่างรวดเร็ว
เมื่อใช้อุปกรณ์พ่นยา เช่น อัลบิวเทอรอล แล้วไม่ช่วยให้อาการดีขึ้นเลย
มีอาการหายใจหอบเมื่อทำกิจกรรมที่ต้องใช้กำลังร่างกายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
โดยหากมีสัญญาณและอาการเหล่านี้เกิดขึ้น ต้องรับไปพบแพทย์โดยด่วน นอกจากนั้น อาการของโรคหืดอาจกำเริบขึ้นได้ตามสถานการณ์และปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

โรคหืดขณะออกกำลังกาย - จริง ๆ แล้วผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายได้ แต่ควรเป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย หรือชนิดกีฬาที่เหมาะสม เช่น เดิน วิ่ง ว่ายน้ำ แอโรบิค โดยหลีกเลี่ยงการออกกำลังในที่ที่มีอากาศแห้งและเย็น เพราะจะส่งผลให้เยื่อบุทางเดินหายใจแห้ง หายใจลำบาก และอาการกำเริบได้ง่ายขึ้น
โรคหืดจากการทำงาน - เกิดกับผู้ที่ปฏิบัติงานอยู่ในบรรยากาศที่มีสารก่อโรค ทำให้เกิดอาการกำเริบ สามารถเกิดได้จากสิ่งกระตุ้นต่าง ๆ เช่น ควันจากสารเคมี แก๊ส ฝุ่น
โรคหืดที่เกิดจากการแพ้ - ในผู้ป่วยแต่ละราย อาจมีสาเหตุของอาการแพ้ที่แตกต่างกันไป เช่น แพ้ละอองเกสรดอกไม้ แพ้สปอร์ของเชื้อราที่ลอยในอากาศ หรือแพ้อากาศเย็น
สัญญาณที่บ่งบอกว่ามีอาการของหอบหืดเด่นชัดขึ้น เช่น

เกิดอาการของโรคถี่ขึ้น และรบกวนการใช้ชีวิตมากขึ้น
หายใจได้ลำบากกว่าเดิม ต้องใช้ยาบรรเทา หรือควบคุมอาการที่กำเริบขึ้นมาบ่อยขึ้น

การรักษาโรคหืด

โรคหอบหืดเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นเป้าหมายของการรักษา คือควบคุมอาการให้เป็นปกติได้นานที่สุด ให้อาการสงบ และให้ผู้ป่วยมีชีวิตเป็นปกติสุข ด้วยการมีสมรรถภาพปอดใกล้เคียงปกติมากที่สุด

ในผู้ป่วยที่มีอาการจับหืดบ่อย จะรักษาด้วยการลดความรุนแรงของโรคด้วยการใช้ยาที่เหมาะสมกับอาการ โดยมีทั้งยาเพื่อลดอาการที่เกิดโดยเฉียบพลันและช่วยควบคุมอาการในระยะยาว ยาที่ใช้รักษาหอบหืด จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

ยาที่ใช้ควบคุมโรคหืด (Controllers) ต้องใช้เป็นประจำเพื่อการรักษาอาการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ยาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดคือยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ชนิดสูด (Inhaled Corticosteroid) และยังมียากลุ่มอื่น ๆ ที่สามารถใช้ได้ เช่น ยาต้านลิวโคไทรอีน (Leukotriene Modifier Antagonist) เป็นต้น
ยาที่ใช้บรรเทาอาการโรคหืด (Relievers)
ใช้เพื่อบรรเทาอาการหอบ จะใช้ยากลุ่มนี้เฉพาะเมื่อมีอาการ ได้แก่ ยาพ่นขยายหลอดลมชนิดเบต้า 2 (Beta2-agonists) มีผลให้กล้ามเนื้อเรียบในหลอดลมคลายตัว หากผู้ป่วยมีการใช้ยาพ่นชนิดบรรเทาอาการบ่อยครั้งหรือเป็นประจำ จะเป็นข้อบ่งชี้ว่ามีอาการเรื้อรังและการควบคุมอาการนั้นอาจไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร

ภาวะแทรกซ้อนของโรคหืด

โดยทั่วไปแล้วโรคหอบหืดจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่ในรายที่มีอาการรุนแรงและเรื้อรัง อาจจะมีแบคทีเรียแทรกซ้อนทำให้เป็นไซนัสอักเสบ หรือบางรายถึงกับเป็นเนื้องอกในโพรงจมูก

อาการแทรกซ้อนและผลกระทบอื่น ๆ เช่น การได้รับผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาโรคหอบหืดเป็นเวลานาน หรือหลอดลมตีบแคบลงอย่างถาวร ทำให้มีปัญหาในการหายใจ และเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านอื่น ๆ ตามมา

การได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้

การป้องกันโรคหืด

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันโรคหอบหืด แต่ผู้ป่วยสามารถสังเกตอาการของตนเอง ควบคุมไม่ให้กำเริบ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ โดยการดูแลตนเองและให้ความร่วมมือกับแพทย์อย่างเคร่งครัด

การป้องกันและควบคุมอาการของโรคหอบหืด มีดังนี้

ตรวจสอบการหายใจ ผู้ป่วยควรสังเกตอาการ หรือสัญญาณเบื้องต้นก่อนที่อาการหอบจะกำเริบ เช่น การไอ หายใจมีเสียง หายใจสั้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสังเกตอาการได้ดียิ่งขึ้น
รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันปอดบวม เพื่อป้องกันการเกิดโรคเหล่านี้ที่เป็นตัวกระตุ้นอาการของโรคหอบหืด
หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นโรค หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ที่ได้กล่าวในข้างต้น เพื่อไม่ให้เกิดอาการ หรืออาการกำเริบ
พบแพทย์และรับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ อยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และเพื่อให้สามารถควบคุมอาการของโรคให้เป็นปกติ ใช้ยาตามที่แพทย์สั่งเพื่อบรรเทาอาการของโรคให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติยาวนานที่สุด
ผู้ป่วยควรได้รับความรู้เบื้องต้น เช่น การใช้ยาให้ถูกต้องและสม่ำเสมอ การใช้อุปกรณ์พ่นยา การดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี
รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างพอเหมาะ รับประทานอาหารที่ช่วยลดการอักเสบและการอุดตันบริเวณทางเดินหายใจ ได้แก่ ผักผลไม้สด เมล็ดธัญพืช เนื้อปลา ดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ

ถานที่ที่มีฝุ่นควันและมลพิษเยอะก็ควรต้องเลี่ยงให้ไกล พร้อมทั้งดูแลสุขภาพโดยรวมให้ดี ไม่ว่าจะเป็นในด้านการบริโภคอาหารให้ครบหมู่โภชนาการ ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และอย่าปล่อยให้มีอาการหวัดเรื้อรัง หรือไซนัสอักเสบ ที่สำคัญควรเข้ารับการรักษากับแพทย์อย่างต่อเนื่อง

ขอขอบคุณข้อมูล และ ขอขอบคุณ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรตีนจากสัตว์มีความแตกต่างจากโปรตีนจากพืชอย่างไร?

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด