เส้นใยอาหาร

ใยอาหาร
การมีสุขภาพของทางเดินอาหารที่ดีจึงควรทำความเข้าใจกับเรื่องราวของใยอาหารให้มากขึ้น
ใยอาหารมีด้วยกันอยู่ 2 ชนิด คือ ใยอาหารไม่ละลายน้ำ และใยอาหารละลายน้ำ ซึ่งใยอาหารทั้งสองชนิดนี้มีคำนิยามเหมือนกันนั่นคือ เป็นสารที่พบในอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบรรดาพืชผักต่างๆ และเกือบทุกชนิดถูกจัดเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ไม่ใช่แป้ง (Non-starch Carbohydrates) เอ็นไซม์ในทางเดินอาหารของมนุษย์ไม่สามารถย่อยได้ อาจจะมีแบคทีเรียบางชนิดในทางเดินอาหารส่วนล่างสามารถย่อยใยอาหารบางชนิดได้ แต่อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติทางกายภาพของใยอาหารทั้งสองชนิดนั้นก็มีความแตกต่างกัน โดยนักวิทยาศาสตร์ได้นิยามความแตกต่างของใยอาหารทั้งสองชนิดไว้ดังนี้

ใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ ( Insoluble fiber )
ใยอาหารกลุ่มนี้ไม่ละลายน้ำแต่จะดึงน้ำไว้ได้ ทำให้เกิดการพองตัวในน้ำลักษณะคล้ายฟองน้ำ
ทำให้เพิ่มปริมาตรของกระเพาะอาหาร ผู้ที่รับประทานใยอาหารกลุ่มนี้จึงรู้สึกอิ่ม อีกทั้งช่วยเร่งให้อาหารผ่านไปตามทางเดินอาหารได้เร็วขึ้น และช่วยเพิ่มมวลของอุจจาระ ทำให้ช่วงเวลาที่กากอาหารค้างอยู่ในทางเดินอาหารสั้นลงหรือขับถ่ายเร็วขึ้น เกิดความรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระลดปัญหาท้องผูกได้ เช่น เซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนินที่พบบนผนังเซลล์ของพืช ใยอาหารประเภทนี้พบได้มากในรำข้าว
รวมทั้งในผักและผลไม้ แหล่งพืชผักผลไม้ที่ให้ใยอาหารชนิดที่ไม่ละลายน้ำ ได้แก่ อ้อย
ข้าวโอ๊ต ผงอะเซโรลา เชอร์รี ข้าวสาลี ถั่วเหลือง เลมอน กระบองเพชร รำข้าวบาร์เลย์ ใยอาหารจากถั่วลันเตา แอปเปิ้ล แครอท

ใยอาหารชนิดละลายน้ำได้ ( Soluble Fiber  )
ใยอาหารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ และสามารถดูดซับสารที่ละลายในน้ำไว้กับตัว เช่น เพคติน (Pectin) กัม (Gums) มิวซิเลจ (Mucilage) พบมากในพืชจำพวกถั่ว รำข้าวโอ๊ต ผักและผลไม้ เป็นสารที่ละลายในน้ำที่ร่างกายย่อยไม่ได้ พบได้ภายในเซลล์พืช มีส่วนทำให้อาหารผ่านไปในทางเดินอาหารช้าลงโดยไม่ ช่วยเพิ่มมวลของอุจจาระ ใยอาหารกลุ่มนี้หลายตัวยังช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอล และลด การดูดซึมเกลือน้ำดี นอกจากนี้ใยอาหารกลุ่มนี้ บางตัวยังถูกย่อยด้วยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ได้ เกิดเป็นปฏิกิริยาที่เรียกว่าการหมัก จึงอาจเรียกว่า “ใยอาหารที่ถูกหมักได้” หรือ Fermentable Fiber ปัจจุบันนิยมเรียกใยอาหารกลุ่มนี้ว่า
พรีไบโอติก (Prebiotics) เนื่องจากช่วยส่งเสริมให้แบคทีเรียกลุ่มไมโครฟลอร่าหรือโปรไบโอติก (Probiotics) เจริญเติบโตได้ดีตัวอย่างใยอาหารชนิดที่ละลายน้ำได้แก่
อะเคเซีย กัม

ดังนั้น ใยอาหารทั้งสองชนิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ร่างกายควรได้รับในทุกๆวันในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน อย่างไรก็ตาม การรับประทานใยอาหารมากเกินไปอาจทำให้เกิดสารอาหาร ตลอดจนเกิดปัญหาด้านสุขภาพได้เช่นกัน สมาคมนักกำหนดอาหารของสหรัฐอเมริกา (The American Dietetic Associationหรือ ADA) แนะนำว่าร่างกายควรได้รับใยอาหาร ประมาณวันละ 20-35 กรัม ขึ้นอยู่กับพลังงานโดยรวมที่ได้รับ โดยเลือกจากหลายแหล่ง เช่น ผัก ผลไม้ ถั่วเมล็ดเปียก และธัญพืช

ไฟเบอร์จะไม่ถูกย่อยด้วยเอ็นไซม์ในลำไส้เล็ก
ส่วนใหญ่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ถูกเคลื่อนผ่านจากลำไส้เล็กเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ การย่อยด้วยระบบเอ็นไซม์ของร่างกายแม้จะ สิ้นสุดลงแล้วแต่เนื่องจากลำไส้ใหญ่เป็นที่ อาศัยของแบคทีเรียหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อ ร่างกายจำนวนมหาศาล เรียกรวมกันว่านอร์มอล ฟลอร่า (Normal Flora) หรือไมโครฟลอร่า
(Microflora) บางครั้งอาจเรียกว่าโปรไบโอติก (Probiotics) ก็ได้ แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่นี้มี จำนวน มากกว่าจำนวนเซลล์ของร่างกายถึง 10 เท่าโดยเซลล์ร่างกายมีจำนวน 1013 หรือ 10 ล้านล้านเซลล์ ขณะที่แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่มีจำนวนมากถึง 1014 หรือ 100 ล้านล้านเซลล์ แบคทีเรียกลุ่มนี้ใช้ใยอาหารบางกลุ่มที่มันย่อยได้ซึ่งเรียกว่า พรีไบโอติก (Prebiotics) เป็นอาหารเกิดการย่อยใยอาหารกลุ่มนี้ให้เกิดเป็นกรดไขมันตัวเล็กๆ ที่เป็นประโยชน์

ใยอาหาร
ดร. นพ. ประสงคเทียนบุญ MD, FRCPedT, BS, MCN (Nutrition), FICN (Nutrition), PhD (Nutrition),
Cert. Specialist, Clinical Nutrition and Metabolism.
หนวยโภชนศาสตรและศูนยวิจัยโภชนาการ คณะแพทยศาสตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม เชียงใหม 50200.
Email: prasong@chiangmai.ac.th
บทนํา
ใยอาหารชนิดตางๆจะมีคุณสมบัติแตกตางกันทางฟสิกส เคมีและสรีระวิทยา โดยมีคุณสมบัติโดย
รวม (1, 2) คือ มาจากพืช เปนคารโบไฮเดรตหรือมาจากคารโบไฮเดรตยกเวนลิกนิน ทนตอขบวนการ
hydrolysis โดยเอนไซมในลําไสของมนุษยและสามารถผานไปถึงลําไสใหญในสภาพที่ยังปรกติโดยที่บางสวนอาจถูก hydrolyse และถูก ferment ดวยแบคทีเรียในลําไสใหญ ใยอาหารแตละชนิดมีความสามารถมากนอยแตกตางกันในดานตางๆคือการละลายน้ํา ความหนืด ความสามารถในการจับน้ำไวความสามารถในการจับกับแรธาตุและสารอินทรียตางๆ ใยอาหารมีประโยชนในการควบคุมระดับกลูโคสและไขมันในเลือด ชวยปองกันและรักษาอาการ ทองผูกและทองเสีย ชวยปองกันมะเร็งลําไสใหญ ชวยเพิ่มภูมิตานทานโรค ชวยทําใหเยื่อบุผิวของลําไสแข็ง แรง ชวยสงเสริมการเจริญเติบโตและการทําหนาที่ของแบคทีเรียชนิดดีในลําไสใหญ เปนตน มนุษยควรรับ ประทานใยอาหารหลายๆชนิดรวมกันเพื่อใหไดประโยชนดังกลาว ถารับประทานใยอาหารในปริมาณมากๆ มันจะลดการดูดซึมของแรธาตุบางชนิดเชน แคลเซียม เปนตน

บทบาทของใยอาหารในทารกและเด็กนับวันยิ่งเพิ่มความสําคัญมากขึ้น ทั้งนี้เพราะในน้ํานมแมมีใย
อาหารชนิดละลายน้ํามากกวา 150 ชนิด จึงไดมีการเติมใยอาหารบางชนิดเชน อินูลิน กาแลคโตโอลิโกแซค คาไรดและฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรดเปนตน ลงในนมผงดัดแปลงสําหรับทารกเพื่อใหคลายนมแมมากขึ้น

การจําแนกชนิดของใยอาหารและสารอาหารที่มีคุณสมบัติคลายใยอาหาร (fibre-like substance)
ใยอาหารจําแนกออกไดเปนหลายรูปแบบดังตารางหรืออาจจําแนกตามความสามารถในการ
ละลายน้ําคือ (2, 3)
1. ใยอาหารชนิดไมละลายน้ํา (insoluble fiber) ใยอาหารชนิดนี้จะไมหนืด จะไมถูก ferment หรือ
ถูก ferment ไดนอยมากในลําไสใหญ
2. ใยอาหารชนิดละลายน้ํา (soluble fiber) ใยอาหารชนิดนี้จะมีความหนืดและจะถูก ferment ไดดี
ในลําไสใหญ อินุลิน ฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรด resistant starch และ unabsorbed sugar ถูกจัดใหเปนใยอาหาร มันมีคุณสมบัติคลายใยอาหาร จะอยูในอาหารที่เรารับประทาน จะไมถูกยอยโดยเอนไซมแตจะถูก ferment ไดเกือบหมดในลําไสใหญอินุลินและฟรุกโตโอลิโกแซคคาไรดจะละลายน้ําไดดีมากและถูก ferment ไดดีในลําไสใหญแตจะไมหนืดเหมือนพวกใยอาหารที่ละลายน้ําโดยทั่วๆไป

ประโยชนของใยอาหารตอสุขภาพของมนุษย
ใยอาหารมีประโยชนตอสุขภาพของมนุษยดังนี้
1. การทําหนาที่ของทางเดินอาหารสวนตน
1.1 Transit time (2)
ใยอาหารชนิดละลายน้ําจะทําใหอาหารอยูในกระเพาะนานขึ้น (delay gastric emptying time)
โดยการฟอรมตัวเปนเจลเหนียวในกระเพาะ สวนใยอาหารที่ไมละลายน้ําจะไมมีผลดังกลาว
1.2 ผลกระทบตอการดูดซึมของสารอาหาร (2, 3, 6)
ใยอาหารที่ละลายน้ําจะลดการดูดซึมของกลูโคสผานเยื่อบุผิวของลําไสลดการดูดซึมของไขมัน มัน
จึงมีประโยชนตอการควบคุมระดับกลูโคสและไขมันในเลือด ใยอาหารบางชนิดอาจมีผลตอการดูดซึมของ โปรตีนเชน ใยอาหารในขาวไรนเพคตินและโพลีแซคคาไรดของถ่วเหล ั ืองจะจับตัวกับแคทไอออน (cation) ทําใหลดการดูดซึมของแรธาตุบางตัวเชน แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดงและสังกะสี

2. ผลดีจากขบวนการ fermentation ของใยอาหารตอนิเวศวิทยาของลําใสใหญเอนไซมในทางเดินอาหารของมนุษยจะไมสามารถยอยใยอาหารได แตแบคทีเรียในลําไสใหญและ ซีกั่มจะสามารถทําไดและยังสามารถ ferment ใยอาหารได ทําใหไดกรดไขมันสายสั้น พลังงานและแกส ตางๆเชน ไฮโดรเจน คารบอนไดออกไซดและมีเทน เปนตน กรดไขมันสายสั้นจะถูกดูดซึมผานเยื่อบุผนังของ ลําไสใหญ เมื่อเขาไปอยูในเยื่อบุแลวมันจะถูกใชเปนพลังงาน (กรดไขมัน butyrate) กรดไขมันสายสั้นจึงมี ประโยชนดังนี้
1. ใหพลังงานแก host ซึ่งเปนผลดีในกรณีที่ host มีภาวะการดูดซึมสารอาหารบกพรอง
2. ลด pH ในลําไสลดปริมาณแอมโมเนียและยูเรีย
3. ชวยสงเสริมการดูดซึมน้ําและโซเดียมซึ่งมีประโยชนในผูปวยทองเสีย
4. ชวยควบคุมการเคลื่อนไหวของกระเพาะและลําไส
5. ชวยกระตุนการเจริญเติบโตของเซลลเยื่อบุผิวของไอเลี่ยมและลําไสใหญ
6. กรดไขมันบิวไทเรทชวยปองกันการเปนมะเร็งของลําไสใหญ
7. ชวยในขบวนการเมทาโบลิซึมของกลูโคสและไขมัน ทั้งนี้มาจากผลของการสลายกรดอะซิเตท
และโปรปโอเนททั้งในตับและในเนื้อเยื่ออื่นๆ
8. ชวยทําใหเกิดความสมดุลยของแบคทีเรียในลําไส
3. การขับถายของลําไสใหญ
ใยอาหารชนิดไมละลายน้ําจะชวยเพิ่มเนื้อของอุจจาระเพราะวามันไมสลายตัวในลําไสใหญและยัง
สามารถจับกับน้ําไดดวย จึงทําใหอุจจาระออนนุม ถาเปนใยอาหารชนิดหยาบจะทําใหเกิดเนื้ออุจจาระมาก เชน Wheat bran, oat bran และเซลลูโลส สวนใยอาหารที่ละลายน้ําจะทําใหมีเนื้ออุจจาระนอยและถาเปน ใยอาหารที่ถูก ferment ไดดีจะทําใหลําไสใหญมีแบคทีเรียมาก ทําใหเกิดแกสในอุจจาระไดมาก จึงอาจเพิ่ม น้ําหนักและปริมาตรของอุจจาระได ใยอาหารที่ไมละลายน้ําจะลด transit time ของลําไสใหญ สวนใย อาหารที่ละลายน้ําไดมักจะไมลด transit time ของลําไสใหญ ใยอาหารชนิดไมละลายน้ําทําใหการถาย อุจจาระถี่ขึ้นไดจากเดิมที่ถายนอย
4. ผลดีตอเยื่อบุผิวในลําไส (trophic action on intestinal mucosa) จากการศึกษาในสัตวทดลองพบวาใยอาหารชวยในการเจริญเติบโตของเยื่อบุผิวในไอเลี่ยมและลํา ไสใหญ โดยทําใหลําไสยาวขึ้น มีน้ําหนักมากขึ้นและลําไสมีคริปทลึกขึ้น ซึ่งจะพบไดทั้งในใยอาหารที่ละลาย น้ําและใยอาหารที่ไมละลายน้ําเชน เซลลูโลส เปนตน ดังนั้นการรับประทานทั้งใยอาหารที่ละลายน้ําและไม ละลายน้ําจะชวยปองกันการหอเหี่ยวของเยื่อบุผิวของลําไสไดดีกวารับประทานใยอาหารชนิดละลายน้ําอยางเดียว
5. ชวยควบคุมระดับน้ําตาลและไขมันในเลือด ในคนไขเบาหวานที่รับประทานใยอาหาร 8-20 กรัมตอ 100 กรัมของคารโบไฮเดรตจะสามารถลด ระดับกลูโคสและอินซูลินได 20-50% เชื่อกันวาใยอาหารชนิดละลายน้ําจะชวยเพิ่ม glucose tolerance สวนใยอาหารที่ไมละลายน้ําจะมีผลเพียงเล็กนอยหรืออาจไมมีผลเลย ใยอาหารชนิดละลายน้ําสามารถชวยลดระดับโททัลและแอลดีแอลโคเลสเตอรอลในเลือดได การ รับประทานใยอาหารในขาวโอตและเบตากลูแคนปริมาณ 3-15 กรัมตอวันจะสามารถชวยลดโคเลสเตอรอล ได 5-15% ซึ่งจะเห็นชัดในคนที่มีระดับโคเลสเตอรอลสูงในเลือด ใยอาหารที่ไมละลายน้ําเชนเซลลูโลสและ wheat bran จะไมมีผลตอระดับโคเลสเตอรอลในเลือด ผลเสียและอาการขางเคยงจากการรับประทานใยอาหาร แมวาใยอาหารจะมีประโยชนตอรางกายอยางมาก แตถารับประทานมากจนเกินไปจะมีผลเสียตอ รางกายเชน
1. ลดการดูดซึมของสารอาหารบางชนิดเชน แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก ทองแดงและสังกะสี
เปนตน
2. ผลเสียตอทางเดินอาหารเชน มีแกสในกระเพาะและลําไสอาเจียน ลําไสเคลื่อนไหวเร็วกวา
ปรกติและปวดทอง เปนตน
3. ในคนที่ตองใหอาหารทางสายยาง ใยอาหารที่หยาบอาจจะทําใหเกิดการอุดตันในสายยาง
ควรเลือกรับประทานใยอาหารชนิดไหน มากนอยและนานเทาไร
ดังที่ทราบแลววาใยอาหารชนิดไมละลายน้ําชวยดูดจับน้ํา ทําใหเนื้ออุจจาระเพิ่มขึ้นในลําไสใหญ
แตใยอาหารที่ละลายน้ําจะมีประโยชนมากเพราะเมื่อถูก ferment แลวจะไดกรดไขมันสายสั้น ใยอาหารทั้ง
สองอยางมีผลตอพฤติกรรมของลําไสทั้งในดานทองผูก (ใยอาหารชนิดไมละลายน้ํา) และทองเสีย (ใย
อาหารชนิดละลายน้ํา) ใยอาหารทั้งสองชนิดนอกจากจะชวยสงเสริมการเจริญเติบโตของเยื่อบุผิวของลําไส แลวมันยังชวยกั้นการรุกล้ําของเชื้อโรคอีกดวย ใยอาหารที่ละลายน้ําไดและมีความหนืดดีจะชวยควบคุม เมทาโบลิซึมของกลูโคสและไขมัน สวนใยอาหารทีไมละลายน้ําจะควบคุมไมได
ดังนั้นมนุษยควรรับประทานใยอาหารทั้งสองชนิดจากหลายๆแหลง การรับประทานใยอาหารเพียง
วันละ 10-13 กรัมตอ 1,000 กิโลแคลอรีหรือประมาณ 20-35 กรัมตอวันจะทําใหถายอุจจาระไดสดวกและ
ทําใหเยื่อบุผิวของลําไสแข็งแรง (4, 21) จากงานวิจัยพบวาเมื่อรับประทานใยอาหารนาน 1-2 อาทิตยจะ
สามารถชวยลดอาการทองผูก ทองเสียและชวยเพิ่มการเจริญเติบโตของไบฟโดแบคทีเรียในลําไสใหญ

ภายในลำไส้เล็กที่อาหารผ่านเข้ามาจะเกิดการย่อยอาหารมากที่สุด เนื่องจากบริเวณนี้มีเอ็นไซม์มากมายหลายชนิดเข้ามาเกี่ยวข้อง การย่อยอาหารดำเนินต่อไปจนกระทั่งอาหารที่ส่วนใหญ่มีโครงสร้างซับซ้อนถูกเปลี่ยนสภาพเป็นสารอาหารที่พร้อมถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดโดย
-คาร์โบไฮเดรตเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยว
-ไขมันแปลงสภาพเป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล
-โปรตีนถูกย่อยเป็นกรดอะมิโน
-ขณะที่วิตามินและเกลือแร่ถูกปลดปล่อยออกจากเซลล์อาหารกลายเป็นสารอิสระ
-สารอาหารทั้งหมดนี้พร้อมที่จะถูกดูดซึม

พรีไบโอติก
พรีไบโอติก คือ ส่วนประกอบของอาหารที่ไม่ถูกย่อยโดยเอ็นไซม์ในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์และสัตว์ ใยอาหารกลุ่มนี้จึงผ่านระบบทางเดินอาหารไปสู่บริเวณลำไส้ใหญ่ในสภาพที่สมบูรณ์ และกลายเป็นอาหารของจุลินทรีย์กลุ่มที่เป็นโปรไบโอติก เช่น บิฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacteria) และ
แลคติค แอซิด แบคทีเรีย (Lactic Acid Bacteria) โดยแบคทีเรียย่อยใยอาหารกลุ่มนี้ซึ่งมักเป็น
ใยอาหารกลุ่มที่ละลายน้ำจะได้สารบางชนิดที่เป็นประโยชน์ ซึ่งร่างกายนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้หลายชนิด เช่น กรดไขมันห่วงโซ่สั้น (Short Chain Fatty Acid) ซึ่งผลจากการย่อยทำให้ค่าความเป็นกรดด่างในลำไส้ลดลง เป็นการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ที่ก่อปัญหาไปในตัว อาหารที่มีสมบัติ
เป็นพรีไบโอติก ได้แก่ ธัญพืช ผัก ผลไม้ ตัวอย่างของพรีไบโอติกที่คนเราควรได้รับเป็นประจำจาก
อาหารที่รับประทาน ได้แก่ โอลิโกฟรุคโตส (Oligofructose) ฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์
(Fructo Oligosaccharides) อินูลิน (Inulin) โพลีฟรุคโตส (Polyfructose) สารสกัดจากรากชิโครี (Chicory Root Extract) เป็นต้น
ฟลุคโต โอลิโกแซคคาไรด์ (Fructo Oligosaccharides หรือ FOS) จัดเป็นใยอาหารประเภทพรีไบโอติกอีกกลุ่มหนึ่ง ที่เป็นอาหารที่ดีของแบคทีเรียกลุ่ม Bifidobacteria เมื่อถูกย่อยด้วยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่แล้วจะให้สารบิวไทริคในปริมาณสูงเป็นประโยชน์ต่อการลดความเสี่ยง
ต่อการเป็นโรคมะเร็งในทางเดินอาหารได้ดี

FOS ช่วยกระตุ้นการเจริญและการทำงานของบิฟิโดแบคทีเรีย (Bifidobacteria) และแลคโตบาซิลลิ (Lactobacilli) จึงถูกจัดเป็นพรีไบโอติก การเสริม FOS เพียงวันละ 1 กรัมสามารถเพิ่มปริมาณ
บิฟิโดแบคทีเรียได้ 6 - 7 เท่า การวิจัยพบว่า FOS วันละ 8 กรัม เพิ่มบิฟิโดแบคทีเรียได้ 10 - 1,000 เท่า ในขณะที่ปริมาณสูงมากถึงวันละ 30 กรัมก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ก่อปัญหาท้องอืดในบางคน

FOS ในธรรมชาติพบในอ้อย หัวชิโครี (Chicory) หัวอาร์ติโช้ค (Artichoke) หัวหอม กระเทียม และต้นกระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง กล้วย และพบปริมาณเล็กน้อยในผัก ผลไม้ และเมล็ดธัญพืชต่างๆ เช่น มะเขือเทศ ข้าวสาลี ข้าวไรย์ น้ำผึ้ง เบียร์ เนื่องจาก FOS มีรสหวานอ่อนๆ และมีความหวานอยู่ตัว จึงถูกนำมาใช้ในการทำขนมลูกกวาด หรือขนมฉาบน้ำตาล และขนมประเภท Pastry ปริมาณ FOS ในอาหารขึ้นอยู่กับเวลาในการเก็บเกี่ยว และการเก็บรักษาแหล่งอาหารดังกล่าว

การรับประทานผักผลไม้อย่างน้อยวันละ 5 หน่วยบริโภค โดยเน้นอาหารที่เป็นแหล่งของ FOS จะช่วยเพิ่ม FOS ในอาหารที่รับประทานได้ เป็นการเสริม FOS โดยการใช้อาหารในธรรมชาติในการช่วยเพิ่มบิฟิโดแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ซึ่งมีหลักฐานบ่งชี้ในการป้องกันการติดเชื้อในลำไส้ การเพิ่มปริมาณบิฟิโดแบคทีเรียจะช่วยลดปริมาณแบคทีเรียชนิดก่ออันตรายได้

ระบบย่อยอาหารและลำไส้กับโพรไบโอติกจุลินทรีย์ชนิดดี๊ดี อยู่คู่กันมาตั้งแต่มนุษย์ตลอดออกจากท้องมารดา อย่างที่ทราบกันไปในบทความก่อนๆแล้วนะคะ สรุปเหตุผลง่ายๆก็คือว่า เจ้าโพรไบโอติกผู้แสนดีน่ารักเป็นมิตรต่อสุขภาพ จะเข้าไปทำให้สภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่เนี่ย กลายสภาพเป็นกรดค่ะ แล้วเชื้อก่อโรคทั้งหลายจะพากันหนีจากสภาพกรดเหล่านี้ เพราะทนไม่ได้

ในระยะยาวก็เลยมีส่วนช่วยทำให้สุขภาพค่อยๆแข็งแรงขึ้น เพราะการเข้าไปมีบทบาทสำคัญต่อความสมดุลของลำไส้นี่แหละค่ะ ที่ส่งผลต่อการมีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพมากๆ

แล้วทำไมเจ้าโพรไบโอติกจุลินทรีย์ชนิดดี๊ดีเหล่านี้ถึงลดลง แล้วทำไมต้องรับประทานอาหารเสริมโพรไบโอติก เพื่อเสริมทัพสุขภาพให้แข็งแกร่งขึ้นมาด้วยล่ะคะ

เพราะโดยธรรมชาตินั้น...จุลินทรีย์ชนิดดีเหล่านี้ สัมพันธ์กับกับการรักษาสมดุลร่างกาย เพื่อปกป้องและป้องกันเชื้อร้ายทำร้ายสุขภาพค่ะ

ที่บอกว่าเป็น ‘โดยธรรมชาติ’ เพราะจุลินทรีย์อาศัยอยู่ร่วมกัมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิด โดยปกติลำไส้ของทารกเมื่อเกิดมา จะได้รับจุลินทรีย์ครั้งแรกตอนคลอดผ่านช่องคลอดของมารดา และต่อมาได้รับโดยตรงจากน้ำนมของมารดา ส่งผลให้จุลินทรีย์เข้าอาศัยอยู่ภายในลำไส้ของทารกโดยธรรมชาติเลยค่ะ

มนุษย์ถือเป็นเจ้าบ้านของจุลินทรีย์ต่างๆกว่า 400 สายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ต่างช่วยคงสมดุล และให้ประโยชน์ต่อสุขภาพในแต่ละแง่ โดยจุลินทรีย์ชนิดดีเหล่านี้ อาศัยอยู่ได้ทั้งบนผิวหนัง ในระบบทางเดินอาหาร ปอด และอวัยวะอื่นทั่วไปค่ะ

แต่แหล่งชุมชนจุลินทรีย์ขนาดใหญ่ในร่างกายมนุษย์ คือ บริเวณลำไส้นั่นเองค่ะ เนื่องจากลำไส้มีพื้นที่ขนาดใหญ่มาก มากกว่าเพื้นที่ผิวหนังทั้งหมดในร่างกายรวมกันถึง 200 เท่าเลยนะคะ แถมยังมีหน้าที่สำคัญสุดๆในการดูดซึมสารอาหารที่มีประโยชน์ และเป็นบริเวณที่ควบคุมระบบภูมิคุ้มกันประมาณร้อยละ 80-90 ของร่างกายทีเดียวค่ะ

ปราการด่านสำคัญที่จะปกป้องร่างกายจากเชื้อตัวร้าย จึงอยู่ที่ระบบย่ออาหารและลำไส้ หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า ‘Gut system’ นั่นเองค่ะ

ที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือมนุษย์เนี่ยใจร้ายเหลือเกินค่ะ ชอบทำร้ายจุลินทรีย์ตัวน้อยตัวนิด ทำให้สมดุลสุขภาพเนี่ยจะไม่เหลือแล้วค่ะ ทั้งอ่อนเพลียง่าย ป่วยบ่อย ภูมิแพ้รุมเร้า ฮอร์โมนแกว่งไกวไม่อยู่กับเนื้อกับตัว อารมณ์แปรปรวน ท้องผูก และสารพัดสารเพเลยค่ะที่ร่างกายมีความเสี่ยง


เพราะฉะนั้นถ้าหากว่ากิจวัตรประจำวัน(ต้องห้าม)เหล่านี้ ทำลายจุลินทรีย์ชนิดดีแสดงว่าเท่ากับทำร้ายสุขภาพร่างกายและภูมิคุ้มกันโดยรวมไปในขณะเดียวกัน เพราะฉะนั้นหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ แนะนำว่าอาหารเสริมโพรไบโอติก ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ที่มีชีวิตให้กับร่างกาย จะเป็นแรงสนับสนุนสุขภาพดี ที่เริ่มต้นได้ตั้งแต่วันนี้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรตีนจากสัตว์มีความแตกต่างจากโปรตีนจากพืชอย่างไร?

กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย