อาหารที่ดีต่อการรักษามะเร็ง

โภชนาการที่ถูกต้องกับการรักษามะเร็ง
     เมื่อท่านทราบว่าเป็นโรคมะเร็ง หลายท่านจะกังวลกับการรักษา และผลข้างเคียงจากการรักษา จริงๆ แล้วหากได้รับข้อมูลทางโภชนาการที่ถูกต้อง ก็จะสามารถช่วยให้ผลข้างเคียงบรรเทาลงได้ ช่วยให้สุขภาพไม่ทรุดลงไปมากกว่าที่ควร ที่สำคัญบทความนี้เป็นบทความที่ตั้งใจให้ข้อมูลทางโภชนาการที่มีผลงานวิจัยทางการแพทย์ยืนยัน และมีการใช้จริงในโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ที่กำลังรักษาโรคมะเร็งได้มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ดูแลรักษาสุขภาพตัวเองด้วยอาหารที่ถูกต้อง

1. เข้าใจการรักษา 3 วิธี
2. ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น
3. วิธีดูแลอาหารเพื่อลดผลข้างเคียงสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง
4. อาหารเสริมที่ส่งผลดีกับการรักษามะเร็ง มีใช้จริงโดยแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ
เพราะใจที่ไม่ยอมแพ้ ต้องมีร่างกายที่พร้อมจะต่อสู้ ควบคู่กันไป

มะเร็งแต่ละบริเวณของร่างกาย มีวิธีรักษาที่แตกต่างกัน แพทย์จะเป็นผู้ที่ตัดสินใจว่าจะรักษาแบบไหน ซึ่งแต่ละวิธีนั้น จะมีผลข้างเคียงจากการรักษาที่แตกต่างกันดังนี้
1. เคมีบำบัด (Chemotherapy)
คือ การรักษาด้วยยาเพื่อควบคุมหรือทำลายเซลล์มะเร็ง โดยการออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง และทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง และอาจมีผลข้างเคียงต่อเนื้อเยื่อปกติ
ระยะเวลาการรักษาทั่วไป : ขึ้นกับชนิดและระยะของโรคมะเร็ง และการตอบสนองของมะเร็งต่อตัวยา มักให้เป็นชุด ชุดละ 1-5 วัน ห่างกัน 3-4 สัปดาห์
2. รังสีรักษา (Radiation therapy)
คือ รักษาโดยใช้รังสีที่มีพลังงานสูง เช่น รังสีเอ็กซ์ รังสีแกมม่า หรือ อนุภาคที่มีพลังงานสูง เช่น อิเลคตรอน โปรตอน หรือ นิวตรอน โดยฉายรังสีในบริเวณที่เป็นโรคและครอบคลุมไปถึงต่อมน้ำเหลืองที่อาจมีโรคแพร่กระจายไปด้วย รังสีจะฆ่าเซลล์ที่เติบโตเร็ว เช่น เซลล์มะเร็ง แต่เซลล์ในร่างกายที่แบ่งตัวเร็ว เช่น เซลล์ผิวหนัง เซลล์เยื่อบุลำไส้ ก็มีโอกาสถูกทำลายด้วย 
ระยะเวลาการรักษาทั่วไป : ฉายรังสี วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 5-15 นาที 5 ครั้งต่อสัปดาห์ จนครบได้ปริมาณรังสีตามแพทย์กำหนด (ประมาณ 10-35 ครั้ง)
3. การผ่าตัด (surgery)
มักทำในผู้ป่วยที่โรคมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่ตำแหน่งเริ่มต้น (มะเร็งระยะที่ 1) หรือในบางกรณีเพียงกระจายไปเนื้อเยื่อข้างเคียงหรือลุกลามทะลุผ่านอวัยวะที่เป็นโพรง (ระยะที่ 2) เท่านั้น ฉะนั้นจะเห็นว่ามักมีการรักษาเสริมด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา ซึ่งมีความสำคัญและเสริมให้ผลการผ่าตัดได้ผลดียิ่งขึ้น

ผลข้างเคียงจากการรักษา ขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล จึงไม่ใช่ทุกอาการที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับการดูแลตัวเอง ยาที่ใช้ การเข้ากันของยาที่ใช้ การกินอาหารที่ถูกต้องและเพียงพอ

จะเห็นได้ว่า ผลข้างเคียงจากการรักษาทั้ง 3 วิธี มีผลกับการกินอาหาร เพราะเมื่ออ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ มีแผลอักเสบในปาก ก็จะกินได้น้อยลง เริ่มน้ำหนักลด สูญเสียกล้ามเนื้อ ภูมิคุ้มกันต่ำ เกร็ดเลือดและเม็ดเลือดขาวต่ำ เซลล์มะเร็งเอง ก็จะมีการการหลั่งสารที่ทำให้มีการเผาผลาญสารอาหารในร่างกายเพิ่มขึ้นด้วย โปรตีนก็จะถูกดึงจากกล้ามเนื้อออกมาเผาผลาญ

ด้วยเหตุนี้เอง ผู้ที่เป็นมะเร็งจึงต้องการสารอาหาร โดยเฉพาะโปรตีนมากกว่าคนทั่วไป เกิดเป็นความเชื่อที่ว่า “เซลล์มะเร็งกินโปรตีน” จึงมีหลายคนงดโปรตีน ซึ่งในทางการแพทย์ จะส่งผลเสียมากกว่าผลดี เพราะถึงแม้จะไม่กินโปรตีน ร่างกายก็จะไปสลายโปรตีนในกล้ามเนื้อออกมาอยู่ดี ในที่สุดจะยิ่งทำให้ร่างกายทรุดโทรม ขาดสารอาหาร จนไม่อาจทนต่อการรักษาได้ หรือไม่มีโปรตีนเพียงพอจะสร้างเม็ดเลือดขาว ต้องเลื่อนการรักษา (หากเม็ดเลือดขาวต่ำเกิน แพทย์จะเลื่อนการรักษาออกไป และให้ผู้ป่วยกินอาหารให้เยอะขึ้นเพื่อให้เม็ดเลือดขาวเพิ่มสูงขึ้น) ซึ่งหากเลื่อนการรักษา อาจทำให้เซลล์มะเร็งเติบโตขึ้นระหว่างนั้นได้

มีผลงานวิจัยพบว่า ผู้ป่วยมะเร็งหลายคน เสียชีวิตเกี่ยวกับโภชนาการดังนี้
สาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็ง
50% จากการกินอาหารไม่ได้
20% จากการขาดสารอาหารมากกว่าโรคมะเร็ง

กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมะเร็ง มักมีน้ำหนักตัวลดลง
ส่งผลต่อการรักษา คุณภาพชีวิตและอัตราการรอดชีวิต

อาหารเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยควรรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารเพียงพอและเหมาะสม ก่อน ระหว่างและหลังการรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้น ลดอาการแทรกซ้อน และมีความรู้สึกดีขึ้นมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคได้

ควรเลือกกินอะไร
1. อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา ไข่ นม ถั่ว ต่างๆ เพราะผู้ป่วยมะเร็งมีอัตราการสลายโปรตีนเพิ่มขึ้น การได้รับโปรตีนและกรดอะมิโนที่จำเป็นอย่างเพียงพอ จึงเป็นสิ่งสำคัญในผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน
2. อาหารที่ให้พลังงานสูง เนื่องจากผู้ป่วยมักกินอาหารได้ในปริมาณน้อย
3. กินผักผลไม้ให้ครบวันละ 5 สี จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีคุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้มะเร็งลุกลามได้ (ควรล้างให้สะอาด) เช่น มะเขือเทศ ดอกกะหล่ำ คะน้า แขนงผัก บล็อคโคลี ผักโขม กะหล่ำปลีสีม่วง ถั่ว ส้ม แก้วมังกรสีชมพู มะม่วง (สุก-ดิบ) เป็นต้น
4. กินไขมันจากปลา เพราะน้ำมันปลามีกรดโอเมก้า 3 ช่วยลดการอักเสบ เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่น้ำหนักตัวน้อย และ ไม่ควรกินอาหารที่มีไขมันจากสัตว์ที่เป็นไขมันอิ่มตัวมาก เช่น หนังติดมัน น้ำมันหมู เพราะสามารถถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งได้
5. กินมื้อใหญ่ในช่วงเช้า และแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ หลายมื้อ ช่วยให้กินอาหารได้มากขึ้น

มีผลงานวิจัย พบว่า หากผู้ที่เข้ารับการรักษาได้รับอาหารสูตรครบถ้วน อาจช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ที่รักษามะเร็งดีขึ้น เพราะจะส่งผลดีดังนี้
1. ได้รับสารอาหารพอเพียง คนที่เป็นมะเร็ง ร่างกายจะอักเสบ ทำให้เผาผลาญพลังงาน และเผาผลาญโปรตีนสูงกว่าคนปกติ จึงควรรับอาหารเสริมเพิ่มเติมให้พอเพียงต่อวัน
2. ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดเพิ่มขึ้น สามารถเข้ารับการรักษา cycle รอบถัดไปได้ โดยไม่ต้องเลื่อนการรักษา ผู้ป่วยจะไม่ต้องทนทุกข์ใจ หรือต้องรอเวลา เพราะหากต้องเลื่อนการรักษา ก็อาจจะมีความเสี่ยงที่เซลล์มะเร็งจะพัฒนาในช่วงที่ถูกเลื่อนไป
3. ช่วยลดอาการอักเสบในช่องปาก (mucositis) ในกลุ่มที่ได้เคมีบำบัดร่วมกับฉายแสง ซึ่งหากมีอาการนี้ จะทรมานและทำให้กินอาหารลำบาก ส่งผลให้สุขภาพทรุดลง การได้รับอาหารเสริมเฉพาะทางนี้ จะช่วยลดอาการอักเสบ ป้องกันไม่ให้รุนแรงได้

อาหารสูตรครบถ้วนที่ส่งผลดีต่อการรักษามะเร็ง ที่มีงานวิจัยรองรับ* มีส่วนประกอบหลัก 4 อย่างใน 1 แก้ว ดังนี้
1. มี โปรตีนสูง
2. มี กรดอะมิโนจำเป็นยามเจ็บป่วย ช่วยเพิ่มจำนวนและเสริมสร้างการทำงานของเม็ดเลือดขาว (lymphocyte) และช่วยสมานแผลผ่าตัดเร็วขึ้น
3. มี  ส่วนประกอบของสารพันธุกรรม (DNA/RNA) ช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์ลำไส้และเซลล์เม็ดเลือดขาว จึงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย
4. มี โอเมก้า 3 ช่วยลดการผลิตสารกระตุ้นการอักเสบ pro-inflammatory cytokine ช่วยควบคุมการอักเสบในร่างกาย

ผลงานวิจัยพบว่าสำหรับการรักษาด้วยเคมีบำบัด :
ช่วยให้ได้รับโปรตีนสูง พลังงานสูง เพียงพอต่อความต้องการ
มีส่วนช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือด (เพราะการลดลงของเม็ดเลือดขาว ส่งผลให้ไม่สามารถเข้ารับการรักษา cycle รอบถัดไปได้ และอาจต้องเลื่อนการรักษา)

มีส่วนช่วยลดอาการอักเสบในช่องปาก ช่วยให้ไม่ทรมานระหว่างกินอาหาร
ผลงานวิจัยพบว่าสำหรับการักษาด้วยวิธีผ่าตัด :
ช่วยเพิ่มโปรตีนสูง เพื่อให้แผลหายเร็ว
ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสการติดเชื้อ
ช่วยลดจำนวนวันพักรักษาตัวในโรงพยาบาล

*จากผลงานวิจัย ได้ผลลัพธ์อย่างมีนัยยะสำคัญ แต่ทั้งนี้ขึ้นกับแต่ละบุคคล
การตอบสนองต่อยาที่รักษา สภาวะสุขภาพก่อนการรักษา และปริมาณที่ได้รับต่อวัน -

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรตีนจากสัตว์มีความแตกต่างจากโปรตีนจากพืชอย่างไร?

กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย