ดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ(เรื้อรัง) ในกรณีที่ยังไม่มีภาวะ "ตับแข็ง"


ดูแลสุขภาพตัวเองสำหรับ ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ(เรื้อรัง) ในกรณีที่ยังไม่มีภาวะ "ตับแข็ง"
- งด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ทุกชนิด)
- หลีกเลี่ยงการกินสมุนไพรต่างๆ 
- หลีกเลี่ยงการรับประทาน ถั่วป่น/พริกแห้ง ซึ่งอาจมีสารอัฟลาท๊อกซินปนเปื้อนอยู่ 
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ(ตามสภาพร่างกาย)เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- พยายามหลีกเลี่ยงความเครียด หรือ ลดความเครียด
- ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ หากตรวจเลือดพบว่ายังไม่มีภูมิคุ้มกัน
- งดการบริจาคโลหิต
- ตรวจเลือด และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ (ตามที่แพทย์นัด)
- ในกรณีที่มีภาวะตับแข็งแล้ว ควรได้รับการตรวจอัลตร้าซาวน์ช่องท้องส่วนบน อย่างสม่ำเสมอทุก 6-12 เดือน เพื่อเฝ้าระวังมะเร็งตับ
- ผู้ป่วยโรคตับควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดๆ เนื่องจากภาวะตับอักเสบของแต่ละบุคลลแตกต่างกัน
- ลดอาหารที่มีแป้งสูง,น้ำตาลสูง,ไขมันสูง เพราะจะทำให้อ้วนขึ้น ซึ่งอาจทำให้ไขมันจะไปเกาะที่ตับมากขึ้นและทำให้ตับอักเสบเพิ่มขึ้นได้
- ส่วนการดูแลสุขภาพด้านโภชนาการ ก็คงเป็นเช่นเดียวกับผู้ที่มีสุขภาพปกติทั่วๆไป นั่นก็คือ ควรทานสารอาหารให้ครบหมู่ ได้แก่ 
- กลุ่ม โปรตีน(คุณภาพ) อาทิ โปรตีนจากพืช เช่น โปรตีนจากถั่วเหลือง ฯลฯ หรือ ทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ที่ไขมันต่ำ เช่น เนื้อปลา, ไข่ เป็นต้น 
- กลุ่ม คาร์โบไฮเดรต(เชิงซ้อน) อาทิ ข้าวกล้อง, ข้าวไรส์เบอร์รี่, ข้าวหอมนิล ฯลฯ และ ใยอาหาร(ไฟเบอร์)
- กลุ่ม วิตามินต่างๆ อาทิ วิตามิน ซี, วิตามินบี(รวม), โคเอ็นไซม์ คิวเท็น
- กลุ่ม ไขมัน(ที่ดี) อาทิ กรดไขมันโอเมก้า-3(น้ำมันปลา), เลซิติน
* ข้อควรระวัง : ถ้าหากอยู่ระหว่างมีอาการของภาวะตับอักเสบ (ระหว่างกำลังป่วย) เช่น ตัวบวม ตาเหลือง ผิวเหลือง ดีซ่าน ฯลฯ ผู้ป่วยควรอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด หากต้องการทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควรปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาหรือควรหยุดการทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไปก่อนในช่วงนั้น
หมายเหตุ : ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยารักษาโรค จึงไม่สามารถอ้างอิงได้ว่านำมาใช้ในการ บำบัด บรรเทา ป้องกัน หรือ รักษาโรค 

: วัตถุประสงค์ในการทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างเพียงพอและสมดุล นอกเหนือจากที่ได้รับในอาหารมื้อปกติ เพื่อร่างกายจะได้นำสารอาหารที่ได้นั้นไปใช้ประโยชน์ได้อย่างครบถ้วนครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรตีนจากสัตว์มีความแตกต่างจากโปรตีนจากพืชอย่างไร?

กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย