ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ

http://edcpirote4.blogspot.com
ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Lymphadenitis) 
คือ ภาวะที่เกิดมีการอักเสบของต่อมน้ำเหลือง
> มารู้จัก "ต่อมน้ำเหลือง" กัน
- ต่อมน้ำเหลือง เป็นเนื้อเยื่อในระบบน้ำเหลือง โดยมีลักษณะเป็นก้อนเล็กๆ รูปไข่ นุ่ม เคลื่อนที่ได้เล็กน้อย มีขนาดเล็กเป็นมิลลิเมตร ในภาวะปกติมักคลำไม่พบ เพราะจะอยู่ปนไปกับเนื้อเยื่อไขมันและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันต่างๆ

- ต่อมน้ำเหลือง จะมีกระจายอยู่ทั่วตัวในทุกอวัยวะยกเว้นในสมอง มีหน้าที่สำคัญ คือ เป็นตัวดักจับสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่เข้าสู่ร่างกายโดยเฉพาะเชื้อโรค นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรคให้กับร่างกายด้วย
-
- ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก โดยเฉพาะที่เกิดจากมีการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ/อวัยวะใดๆแล้วส่งผลให้เกิดการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้เคียงตามมา แต่ไม่มีรายงานความชุกของภาวะนี้ อย่างไรก็ตาม เป็นภาวะที่พบได้ในทุกวัยตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ และพบได้ในทั้งในเพศหญิงและเพศชายเท่าๆกัน
-
- ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ อาจเกิดเพียง ต่อมเดียว, หลายๆต่อมพร้อมๆกัน, ในหลายตำแหน่ง (เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ), และ/หรือ ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ทั้งนี้ ขึ้นกับสาเหตุ และ/หรือ ตำแหน่งของเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่เกิดการอักเสบ
> ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ มีสาเหตุจากอะไร ได้บ้าง?
-
1. มีการติดเชื้อของเนื้อเยื่อและ/หรืออวัยวะต่างๆ แล้วส่งผลให้เกิดต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ข้างเคียงอักเสบตามไปด้วย โดยไม่มีการติดเชื้อที่ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งสาเหตุนี้ เป็นสาเหตุพบบ่อยที่สุดของต่อมน้ำเหลืองอักเสบ เช่น
- การอักเสบของช่องปากและช่องคอจากเชื้อแบคทีเรีย (เช่น เหงือก ลิ้น กระพุ่งแก้มอักเสบ ฟันผุ ต่อมทอนซิลอักเสบ) ซึ่งต่อมน้ำเหลืองที่อักเสบคือ ต่อมน้ำเหลืองในบริเวณลำคอ
- โรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส และ/หรือเชื้อแบคทีเรีย (เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคหัด โรคหัดเยอรมัน) ต่อมน้ำเหลืองที่โตคือ ต่อมน้ำเหลืองที่คอทั้งด้านหน้าและด้านหลังของคอ
- การมีการอักเสบหรือแผลที่ มือ แขน หน้าอก เต้านม จะส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองรักแร้อักเสบ
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ การมีแผล มีการอักเสบของ เท้า ขา และอวัยวะเพศ จะส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองขาหนีบอักเสบ เป็นต้น
-
2. มีการติดเชื้อของต่อมน้ำเหลืองเอง ซึ่งอาจเกิดต่อเนื่องมาจากการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียง เมื่อเนื้อเยื่อ/อวัยวะข้างเคียงนั้นเกิดการติดเชื้อรุนแรงจนเชื้อลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองด้วย ซึ่งต่อมน้ำเหลืองที่ติดเชื้อนี้ จะมีลักษณะ บวม แดง เจ็บ เป็นหนอง, หรือ เป็นการติดเชื้อโดยตรงของต่อมน้ำเหลืองนั้น ซึ่งการติดเชื้อโดยตรงนี้ ต่อมน้ำเหลืองมักมีการอักเสบ โต หลายต่อมพร้อมกัน และมักมีลักษณะเหมือนสายลูกประคำ เช่น วัณโรคต่อมน้ำ เหลือง หรือ ในโรคเอดส์
-
3. ต่อมน้ำเหลืองอักเสบที่สาเหตุไม่ใช่การติดเชื้อ เช่น ในโรคออโตอิมูน, ในโรคมะเร็ง (ลักษณะสำคัญคือ ต่อมน้ำเหลืองจะไม่ค่อยเจ็บและจะโตขึ้นเรื่อยๆอย่างรวดเร็ว มักมีขนาดโตมากกว่า 1 เซนติเมตร), ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด หรือจากการแพ้ยาบางชนิด เช่น ยากันชัก Phenytoin, ยารักษาโรคความดันโรคหิตสูง Atenolol, ยาลดกรดยูริคในเลือดและรักษาโรคเกาต์ Allopurinol เป็นต้น
-
4. ประมาณ 0.5 - 1% ของผู้ที่มาพบแพทย์ด้วยต่อมน้ำเหลืองอักเสบ/ต่อมน้ำเหลืองโต แพทย์หาสาเหตุไม่พบ
-
> ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิด "ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ" ได้แก่
- ผู้ที่มีแผล และ/หรือ มีการอักเสบในอวัยวะต่างๆ เช่น ผิวหนัง ช่องปาก อวัยวะเพศ ฯลฯ
- ผู้ที่มีการติดเชื้อในอวัยวะระบบต่างๆของร่างกาย
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เช่น โรคเอดส์
- ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็ง

> ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ มีอาการอย่างไร?
- อาการที่พบบ่อยที่สุดของต่อมน้ำเหลืองอักเสบคือ มีต่อมน้ำเหลืองโตจนคลำพบได้ ซึ่งอาจเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้
-
> ควรพบแพทย์เมื่อใด?
- เมื่อมีต่อมน้ำเหลืองโต คลำได้ โดยที่ต่อมโตขึ้นเรื่อยๆ หรือมีต่อมน้ำเหลืองโตทั่วตัว หรือโตเป็นสายคล้ายสายลูกประคำ ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและทำการักษา
-
> รักษาต่อมน้ำเหลืองอักเสบอย่างไร?
- การรักษาต่อมน้ำเหลืองอักเสบ คือ การรักษาที่ต้นเหตุ เช่น การทำฟัน เมื่อสาเหตุเกิดจากฟันผุ, การรักษาแผลต่างๆเมื่อสาเหตุเกิดจากแผล, การให้ยาปฏิชีวนะเมื่อสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย, การรักษาวัณโรคเมื่อสาเหตุเกิดจากเชื้อวัณโรค, และการรักษาโรคมะเร็งเมื่อสาเหตุเกิดจากโรคมะเร็ง เป็นต้น นอกจากนั้นคือ การรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาแก้ปวด ถ้ามีอาการปวดต่อมน้ำเหลืองมาก เป็นต้น
- โดยทั่วไปสาเหตุต่อมน้ำเหลืองอักเสบมักเกิดจากการติดเชื้อ จึงมักรักษาได้หายเสมอ
- อย่างไรก็ตาม ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ สามารถเกิดเป็นซ้ำได้โดยขึ้นกับสาเหตุ เช่น จากการติดเชื้อ หรือจากผลข้างเคียงของยา
- นอกจากนั้น ภายหลังการรักษาหายแล้ว มักจะยังคลำต่อมน้ำเหลืองได้ตลอดไป โดยคลำได้เป็นก้อนเล็กๆ มักไม่เจ็บ แต่ก้อนจะไม่โตขึ้น(แต่อาจโตขึ้น ถ้ามีการอักเสบเกิดซ้ำอีก) ทั้งนี้เกิดจากการมีพังผืดเกิดขึ้นในต่อมน้ำเหลืองนั้นๆ

> ควรดูแลตนเองอย่างไร?
- การดูแลตนเองเมื่อมีต่อมน้ำเหลืองอักเสบ คือ การดูแลตามสาเหตุนั้นๆ (เช่น การดูแลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เมื่อสาเหตุเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น)
-
> การดูแลสุขภาพทั่วไป ได้แก่
- รักษาสุขอนามัยพื้นฐานให้ดี
- รักษาความสะอาดผิวหนังบริเวณที่บวม (ตรงต่อมน้ำเหลืองส่วนนั้นๆ) ให้ดี
- ไม่คลำบริเวณที่บวมบ่อยๆ ไม่แกะ ไม่เกา เพราะจะเพิ่มโอกาสติดเชื้อเพิ่มเติมจากภายนอกได้
- ดูแลตนเองตามสาเหตุของโรค เช่น รักษาสุขภาพช่องปากและฟัน และพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เป็นต้น
- ควรปฏิบัติตามแพทย์ แนะนำ และกินยาต่างๆที่แพทย์สั่งให้ครบถ้วน ถูกต้อง ไม่ขาดยา และไม่หยุดยาเอง
- ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกิดโรคอ้วน
- ออกกำลังกายตามควรกับสุขภาพทุกวัน
- ดูแลร่างกายให้แข็งแรง กินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ ร่วมกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอทุกวันตามควรกับสุขภาพ
-
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://medthai.com/ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ/
-
> การดูแลด้านโภชนาการ โดยเบื้องต้น ควรดูแลสุขภาพพื้นฐานให้ดี โดยให้ร่างกายได้รับสารอาหารให้ครบหมู่ ในปริมาณที่พอเพียงและสมดุล อาทิ
- โปรตีน(คุณภาพ) / มีบทบาท เสริมสร้างซ่อมแซม เซลล์,เนื้อเยื้อ,อวัยวะ,ฮอร์โมน,เอนไซม์ต่างๆ ในส่วนที่สึกหรอของร่างกาย
- คาร์โบไฮเดรต(เชิงซ้อน) อาทิ ข้าวกล้อง / มีบทบาท ส่งเสริมการสร้างพลังงาน และ ข้าวกล้องยังอุดมไปด้วยใยอาหาร(ไฟเบอร์)
- ไขมัน(ที่ดี) อาทิ กรดไขมันโอเมก้า-3 / มีบทบาท ส่งเสริมการไหลเวียนของโลหิต, ต้านภาวะอักเสบของเซลล์และเนื้อเยื้อต่างๆ
- วิตามิน เกลือแร่ ไฟโตนิวเทรียนท์ / มีบทบาท ส่งเสริมระบบการทำงานของร่างกาย(โดยรวม)ให้สมบูรณ์
- วิตามินซี / มีบทบาท ต้านอนุมูลอิสระ, ส่งเสริมการสร้างคอลลาเจน, ส่งเสริมระบบภูมิต้านทานโรค(หวัด)
- วิตามินบี(ต่างๆ) / มีบทบาท ส่งเสริมการทำงานของระบบประสาทและสมอง, ส่งเสริมการเผาผลาญสารอาหาร
- ใยอาหาร (ไฟเบอร์) / มีบทบาท ส่งเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหาร, ส่งเสริมระบบภูมิต้านทานโรค
- กระเทียม / เป็นสมุนไพรที่มีบทบาทต้านเชื้อแบคทีเรีย, ส่งเสริมการไหลเวียนของเลือด
- หากต้องการดื่มเครื่องดื่ม แนะนำ ไฟโตดริ้งค์ ที่มีน้ำตาลน้อยหวานพอดี, มีใยอาหาร, อุดมไปด้วยวิตามินซีและบี, มีแร่ธาตุ และ ไฟโตนิวเทรียนท์
-
หมายเหตุ : ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารไม่ใช่ยารักษาโรค จึงไม่สามารถอ้างอิงได้ว่านำมาใช้ในการ บำบัด บรรเทา ป้องกัน หรือ รักษาโรค

: วัตถุประสงค์ในการทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างเพียงพอและสมดุล นอกเหนือจากที่ได้รับในอาหารมื้อปกติ เพื่อร่างกายจะได้นำสารอาหารที่ได้นั้นไปใช้ประโยชน์ได้อย่างครบถ้วนครับ
-
 ปู เปอร์ตีส

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรตีนจากสัตว์มีความแตกต่างจากโปรตีนจากพืชอย่างไร?

กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย