ดูแลคนที่เป็น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)

http://edcpirote4.blogspot.com
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
     เป็นความผิดปกติเรื้อรัง ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันรุกรานเนื้อเยื่อในร่างกายหลายแห่งโดยเฉพาะส่วนข้อ ทำให้เกิดการอักเสบและทำให้ข้อเสื่อม อาการแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ไม่มีอาการ ผู้ป่วยจะรู้สึกสบายดี ส่วนระยะที่อาการกำเริบ ผู้ป่วยจะมีอาการเมื่อยล้า เบื่ออาหาร มีไข้ต่ำๆ ปวดกล้ามเนื้อและข้อ กล้ามเนื้อและข้อเกร็ง(พบมากในช่วงเช้า) ข้อเปลี่ยนเป็นสีแดง บวม ปวด นิ่ม โดยทั่วไปจะเกิดขึ้นทั้ง 2 ข้างของร่างกายสมดุลกัน มักเกิดกับข้อเล็ก หากทิ้งไว้เรื้อรัง จะลุกลามมีผลทำลายอวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด หัวใจ เม็ดเลือด ทำให้ต่อมน้ำตาฝ่อ ตาแห้งฝืด ฯลฯ

* กรณีมีอาการมากๆควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
การดูแลด้านโภชนาการควรเป็นอย่างไร จะทานอาหารอะไรได้บ้าง ที่ไม่มีผลทำให้อาการกำเริบ? (ทานได้อย่างสบายใจ)
 อาหารที่ "ไม่มีผลกระตุ้น" ให้เกิดอาการปวดข้อ (ที่มีบทความต่างประเทศแนะนำไว้) สารมารถทานได้ ได้แก่
- ข้าวกล้อง
- ผลไม้ที่ผ่านความร้อน หรือ ทำให้แห้งแล้ว ได้แก่ เชอรี่ แครนเบอรี่ ลูกแพร์ ลูกพรุน (ยกเว้น ผลไม้ตระกูลส้ม กล้วย ลูกพีช หรือ มะเขือเทศ)
- ผักสีเขียว เหลือง และส้ม ที่ผ่านความร้อน ได้แก่ หัวอาร์ติโช้ค หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี่ ผักกาดแก้ว ผักโขม ถั่วฝักยาว มันเทศ มันสำปะหลัง เผือก เป็นต้น
- น้ำ ได้แก่ น้ำสะอาด(ธรรมดา)
- เครื่องปรุงรส(บางชนิด) ได้แก่ เกลือปริมาณปานกลาง น้ำเชื่อมเมเปิ้ล และสารสกัดวานิลา

ควรหลีกเลี่ยงอาหาร ที่อาจจะ "มีผลกระตุ้น" ให้อาการกำเริบ อะไรบ้าง? (ควรระมัดระวัง) 
     ผลิตภัณฑ์จาก นม (ทุกชนิด) อาทิ นมวัว,นมแพะ ข้าวโพด เนื้อสัตว์ใหญ่ ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวราย ไข่ ผลไม้ตระกูลส้ม มันฝรั่ง มะเขือเทศ ถั่ว กาแฟ
อาหารอื่นๆที่อาจจะรับประทานได้ หรือ ควรจะหลีกเลี่ยงเพิ่มเติม มีอะไรบ้าง? (สำหรับบางคน)
 อาหารบางชนิดที่อาจจะ "กระตุ้น" ให้อาการกำเริบได้ในบางคน แต่ "ไม่กระตุ้น" อาการในคนกลุ่มใหญ่ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล้วย ช็อกโกแล็ต มอลต์ ไนเตรต หอมใหญ่ ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง น้ำตาลอ้อย และเครื่องเทศบางชนิด

สารอาหารอะไรบ้าง ที่นำมาใช้ในการควบคุมอาการอักเสบของโรคข้อรูมาตอยด์
- น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส และ น้ำมันโบราจ ซึ่งจะอุดมไปด้วย กรดไขมัน GLA
บทบาท : ช่วยส่งเสริมการสร้างสารพรอสต้าแกรมดิน PGE1 ซึงออกฤทธิ์ต้านสารพรอสต้าแกรนดิน PGE2 (PGE2 เป็นสารที่กระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบ)

- กรดไขมันโอเมก้า-3 (พบมากใน ปลาทะเล และ น้ำมันปลา)
บทบาท : ช่วยส่งเสริมการสร้างสารพรอสต้าแกรมดิน PGE3 ซึงออกฤทธิ์ต้านสารพรอสต้าแกรนดิน PGE2 (PGE2 เป็นสารที่กระตุ้นทำให้เกิดการอักเสบ)

- *กระเทียม (Garlic)
บทบาท : ในงานวิจัยพบว่ากระเทียมชนิดแคปซูลจะช่วยลดการอักเสบในผู้ป่วยโรคข้อรูมาติคส์ (rheumatic) จำนวน 30 คน อาจเนื่องจากสารสกัดกระเทียมมีฤทธิ์เพิ่มระดับไซโตไคน์ที่ต้านการอักเสบคือ interleukin-10 (IL-10) ในการทดสอบโดยใช้เลือดของผู้ป่วยเป็นโรคลำไส้อักเสบ (Inflammatory bowel syndrome) พบว่าที่ขนาด 0.1 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จะทำให้การสร้าง interleukin-12 (IL-12) ของ monocyte ลดลง และในขนาด 10 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร จะทำให้การสร้าง IL-10 ของ monocyte เพิ่มขึ้น แต่ลดการสร้าง TNF-a, IL-12, IL-6 และ IL-8 ของ monocyte และลดการสร้าง interferon-gamma (IFN-g), IL-2 และ TNF-a จาก T-helper cell (Th1 cell)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรตีนจากสัตว์มีความแตกต่างจากโปรตีนจากพืชอย่างไร?

กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย