ไฟโตนืวเทรียนต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ


ไฟโตนืวเทรียนแหล่งต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญ
โดยปกติร่างกายจะสร้างสารอนุมูลอิสระขึ้นระหว่างกระบวนการเผาผลาญอาหารตามธรรมชาติ หรือในขณะที่เกิดเจ็บป่วย มีการติดเชื้อต่างๆ การสูบบุหรี่ หรือการเผชิญกับภาวะความเครียด ฯลฯ สารอนุมูลอิสระ หรือที่เรียกว่า Free Radicals จะส่งผลเสียต่อสุขภาพเมื่อทำปฏิกิริยากับดีเอ็นเอ (DNA) โปรตีนคาร์โบไฮเดรตและไขมันที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในร่างกาย
ส่งผลทำให้อวัยวะนั้นๆ ทำงานผิดปกติ เมื่อมีอนุมูลอิสระสะสมและเกิดขึ้นเป็นเวลานานก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดแดงตีบแข็ง โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) โรคสมองเสื่อม (Dementia) โรคไขข้ออักเสบ (Arthritis) เป็นต้น ดังนั้นการได้รับสารอาหารที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว

ไฟโตนิวเทรียนสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ
มีคุณสมบัติในการต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระภายในร่างกาย เราพบไฟโตนิวเทรียนท์ได้เฉพาะในพืชผักและผลไม้เท่านั้น และ ยังเป็นสารที่ทำให้ผักและผลไม้มีสี รสชาติและกลิ่นเฉพาะตัว จากผลการวิจัยหลายชิ้นพบว่า ไฟโตนิวเทรียนท์มีบทบาทสำคัญ ต่อการทำงานของร่างกายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะหน้าที่กำจัดสารอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นมากเกิน และยับยั้งการทำลายเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกาย นอกจากนี้ไฟโตนิวเทรียนท์ยังมีคุณสมบัติในการต่อต้านหรือป้องกันการเกิดโรคบางชนิด จากการกระตุ้น การ ทำงานของ เอนไซม์บางชนิดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือยับยั้งการทำงานของเอนไซม์บางชนิดที่อาจก่อให้เกิดโรค
สารพฤษเคมีที่อยู่ในผักแสดงออกเป็นสารสีต่าง ๆ กันดังนี้

สารสีเขียว

ได้แก่ บร็อคโคลี คะน้า ผักชี บวบ หน่อไม้ฝรั่ง กุยช่าย ผักบุ้ง ผักโขม ผักปวยเล้ง ผักกาดหอม แตงกวา ถั่วลันเตา เป็นต้น สีเขียวนั้นเกิดจากสารคลอโรฟิลล์ และยังมีแร่ธาตุอื่นๆ อีกหลายชนิด เช่น ซีแซนทีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม และวิตามินบี 2 ที่ช่วยในการเผาผลาญอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตวยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคและช่วยเร่ง กำจัดฤทธิ์สารก่อมะเร็ง

สารสีน้ำเงิน-ม่วง

ได้แก่ หัวบีท  กะหล่ำปลีม่วง หอมแดง ดอกอัญชัน เผือก มะเขือม่วง ฯลฯ มีสารแอนโธไซยานิน (anthocyanin) ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์และดวงตา ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจอัมพาต


สารสีส้ม เหลือง

ได้แก่ แครอท  ฟักทอง  อุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีนและ ฟลาโวนอยส์  มีบทบาทช่วยให้มองเห็นในที่มืดได้ดี ลดความเสื่อมของเซลล์ของลูกตา ลดความเสี่ยงต่อการเป็นต้อกระจก ช่วยป้องกันผิวที่อาจเกิดจากอันตรายของรังสีอัลตราไวโอเลตที่มากับแสงแดดได้ จึงทำให้ผิวพรรณมีสุขภาพดี ไม่มีริ้วรอยแก่ก่อนวัย แลดูสดใสอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาสภาพปกติของเซลล์เยื่อบุตาขาว กระจก ตา ช่องปาก ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ รวมถึงทางเดินปัสสาวะให้เป็นปกติ และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีอีกด้วย

สารสีแดง

มะเขือเทศ พริกแดง แตงโม กระเจี๊ยบแดง หัวบีทรูท มีสารไลโคพีน (lycopene) และ เค็บไซซินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่างๆ ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์ผิวหนัง และช่วยลดปริมาณไขมันตัวร้ายในเลือด ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด ช่วยลดการเจ็บป่วย และ เพิ่มการเผาผลาญไขมัน

สารสีขาว-น้ำตาล

ได้แก่ กระเทียม เซเลอรี่ (ขึ้นฉ่ายฝรั่ง) หอมหัวใหญ่ เห็ด ขิง ข่า ลูกเดือย งาขาว ฯลฯ มีสารอัลลิซิน มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งและเนื้องอก ช่วยกระตุ้นเอนไซม์ในการทำลายพิษช่วยลดโคเลสเตอรอลในเลือด และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์

เราทราบกันดีว่า “อนุมูลอิสระ” เป็นปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ และเราก็ทราบอีกว่า “ไฟโตนิวเทรียนท์” เป็นพระเอกที่จะมาช่วย “ต้านอนุมูลอิสระ” ช่วยกำจัดสารพิษ ต้านการอักเสบ เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งไฟโตนิวเทรียนท์พบได้ในผักผลไม้ต่างๆ และมีมากกว่าสองหมื่นชนิด โดยแต่ละชนิดก็ทำหน้าที่แตกต่างกันไป ดังนั้น การกินผักผลไม้ที่มีสีสันและหลากชนิดในแต่ละวันก็จะทำให้เราได้รับประโยชน์จากไฟโตนิวเทรียนท์ มากชนิดตามไปด้วย และ 5 สุดยอดผักผลไม้ที่มีถึง 5 สีด้วยกันได้แก่ สีขาว สีแดง สีส้ม สีม่วงและสีเขียว มาดูสรรพคุณของแต่ละสีแต่ละชนิดกัน
1. บร็อคโคลี
เป็นผักที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน เพราะมีวิตามินเอ ซี อี เบต้าแคโรทีน มีไฟโตนิวเทรียนท์หลายชนิดทั้งลูทีน ฟลาโวนอยด์ ไอโซไธโอไซยาเนต มีกลูโคซิโนเลทซึ่งเป็นโปรตีนที่จำเป็นต่อระบบภูมิต้านทานของร่างกาย และซัลโฟราเฟนซึ่งเป็นสารต้านมะเร็ง เป็นแหล่งซีลีเนียมที่ช่วยบำรุงผิวพรรณ เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวหนังลดริ้วรอย

2. อะเซโรลา เชอร์รีและบลูเบอร์รี
มีไฟโตนิวเทรียนท์ในกลุ่ม แอนโธไซยานินและแคโรทีนอยด์ รวมถึงวิตามินบีและแร่ธาตุนานาชนิด โดยเฉพาะมีวิตามินซีสูง จึงชะลอ ความเสื่อมของเซลล์ เป็นสารจำเป็นต่อ กระดูกเยื่ออ่อนและผิวหนัง ช่วยร่างกายสังเคราะห์และรักษาระดับของคอลลาเจนช่วยให้แผลหายเร็ว เสริมสร้างความแข็งแรงของหลอดเลือดช่วยดูดซึมธาตุเหล็กในลำไส้เล็ก ต้านการอักเสบจากการติดเชื้อ เสริมภูมิต้านทานร่างกาย ลดการเกิดอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

3. ทับทิม
มีวิตามินซีสูง มีไฟโตนิวเทรียนท์ในกลุ่ม โพลีฟีนอล แอนโธไซยานิน เอลลาจิก เควอซิทิน และรูทิน ที่มีฤทธิ์ต้าน อนุมูลอิสระที่ดีมากซึ่งมีมากกว่าชาเขียวและไวน์แดงถึง 2 - 3 เท่า จึงช่วยในการ ป้องกันการทำลายของเซลล์จากอนุมูลอิสระ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วย


4. ส้ม
และผลไม้ตระกูลส้มที่มีรสเปรี้ยว เช่น มะนาว รวมทั้งมะขาม เป็นแหล่ง วิตามินซีสูง และไฟโตนิวเทรียนท์ กลุ่มซิตรัส ไบโอฟลาโวนอยด์ เช่น เฮสเพอริดิน แทนเจเรติน และเลมอนนีน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพต่อการเจริญเติบโตและยังยั้งความเสื่อมของเซลล์ ชะลอความชรา ลดการอักเสบของผิวหนัง ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยล้างพิษในตับ และเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกาย

5. กระเทียม
รวมถึงต้นกระเทียม หัวหอม ต้นหอม ใบกุยช่าย มีสารอัลลิซินที่เป็น ไฟโตนิวเทรียนท์อันโดดเด่นที่ให้ กลิ่นฉุนเฉพาะตัว เมื่อหั่นหรือสับทิ้งไว้จะยิ่งเพิ่มสรรพคุณให้เข้มข้นขึ้น เป็นสารอนุมูลอิสระชั้นดี มีฤทธิ์เสริม ภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา อีกทั้งยังยับยั้งเซลล์มะเร็ง

ทราบเช่นนี้แล้วพยายามกินผักผลไม้ให้หลากหลายและมากกว่าครึ่งของปริมาณอาหารที่กินทั้งหมดหรือ ประมาณ 500 กรัมต่อวัน และอย่าลืมลดอาหารที่มีไขมันสัตว์ แป้ง และน้ำตาลด้วย คุณก็จะมีสุขภาพที่ดีขึ้น และลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ลงด้วยเช่นกัน
ขอขอบคุณ
http://www.nutrilite.co.th

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรตีนจากสัตว์มีความแตกต่างจากโปรตีนจากพืชอย่างไร?

กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย