ดื่มน้ำน้อยเกินไป... ทำสุขภาพพัง

 การดื่มน้ำน้อยไม่เพียงทำให้ร่างกายขาดน้ำและรู้สึกอ่อนเพลียไม่สดชื่นเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพของคุณอีกด้วยเราจึงมี 5 โรคร้ายที่มาจากการดื่มน้ำน้อย มานำเสนอ เพื่อให้คุณรีบหันมาใส่ใจสุขภาพและดูแลตัวเองก่อนโรคร้ายจะถามหา

1. สมองเสื่อม การดื่มน้ำน้อย อาจส่งผลเสียจนเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมได้ เพราะเมื่อร่างกายของเราขาดน้ำ ปริมาณของน้ำในร่างกายไม่เพียงพอในการเป็นส่วนหนึ่งของเลือดที่สูบฉีดไปทั่วร่างกาย เลือดมีความข้นหนืดมากขึ้นทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ จึงเป็นสาเหตุของอาการสมองเสื่อมได้นั่นเอง เพราะฉะนั้นหากคุณรู้สึกไม่สดชื่น เนือยๆ คิดอะไรช้า ไม่กระฉับกระเฉง นั่นอาจเป็นผลมาจากการดื่มน้ำน้อยเกินไปได้

2. ริดสีดวงทวาร การดื่มน้ำไม่เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ อาจส่งผลให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ยากลำบากมากขึ้น และอาจทำให้คุณไม่สามารถขับอุจจาระออกมาได้ เพราะอุจจาระอาจแห้งเกินไป เมื่อของเสียสะสมอยู่ในลำไส้ ลำไส้ก็จะดูดซึมของเสียนั้นกลับเข้าร่างกายไปอีก ยิ่งทำให้เลือดมีของเสียและข้นหนืดกว่าเดิม อุจจาระก็แข็งแห้งกว่าเดิม จนเกิดเป็นอาการท้องผูก เมื่อคุณมีอาการแบบนี้บ่อยๆ อาจทำให้คุณป่วยเป็นโรคริดสีดวงทวารได้

3. ปวดข้อ กระดูกอ่อนในหลายๆ ส่วนของร่างกาย รวมไปถึงหมอนรองกระดูก มีส่วนประกอบเป็นน้ำมากถึง 80% ดังนั้นหากข้อต่อหรือหมอนรองกระดูกแห้ง ไม่ชุ่มชื้นเพียงพอ อาจทำให้ข้อต่อต่างๆ ดูดซับแรงกระแทกได้ไม่ดีพอ จนเกิดอาการบาดเจ็บได้ง่าย หรืออาจอักเสบได้ง่ายเมื่อต้องออกแรงเดิน ยก เหวี่ยง รวมไปถึงการออกกำลังกาย

4. ทางเดินปัสสาวะอักเสบ-กระเพาะปัสสาวะอักเสบ หากคุณมีอาการปวดปัสสาวะ แต่ไม่มีปัสสาวะไหลออกมา หรือไหลออกเพียงหยดสองหยด คุณอาจกำลังเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ หรือกระเพาะปัสสาวะอักเสบ อันเนื่องมาจากการดื่มน้ำไม่เพียงพอ การติดเชื้อ และการกลั้นปัสสาวะนานๆ

5. ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ปัญหาสุขภาพของคุณผู้หญิงที่ต้องเจอหากดื่มน้ำน้อย หากคุณพบว่าคุณมีประจำเดือนที่ไม่สม่ำเสมอ ขาดๆ หายๆ มีน้ำเกินไป มีสีเข้มเกินไป มาเป็นลิ่มเลือด หรือแม้กระทั่งปวดท้องประจำเดือนมาก หนึ่งในสาเหตุอาจมาจากการดื่มน้ำน้อยเกินไปได้

หากคุณยังไม่รู้ว่ากำลังดื่มน้ำน้อยเกินไปหรือไม่ ให้รีบไปสังเกตอย่ามองข้ามสัญญาณเตือน

ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลวิภาวดี 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรตีนจากสัตว์มีความแตกต่างจากโปรตีนจากพืชอย่างไร?

กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย