ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว


การดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว
ผู้สูงอายุ มักมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งอาการของโรคจะแสดงตามระยะของโรค และเมื่อมีปัจจัยเสี่ยง

ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ควรได้รับการดูแลจากบุตรหลานมากกว่าดูแลตนเองทั้งหมด เนื่องจากโรคที่เป็นอยู่ และความชรา อาจสร้างความจำกัดในการดูแลตนเองให้ดีได้

ข้อควรคำนึงถึงในการดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว มีดังนี้

การทานยา
เรื่องยา ซึ่งใช้บรรเทาและรักษาโรค เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ข้อคำนึงถึงในการทานยา มีดังนี้
- ทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ไม่ซื้อยาทานเองหากไม่ได้รับการอนุญาตจากแพทย์
- ไม่ทานยา หรือใช้ยาเก่าที่นานมาแล้ว แม้ว่าจะเคยใช้มาก่อนก็ตาม
- หากมีอาการผิดปกติควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น
นอกจากเรื่องการทานยาแล้ว ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ควรเรียนรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกต้องด้วย เพื่อเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น หรืออาการกำเริบขึ้นมา จะได้ดูแลเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการดูแลเบื้องต้นอย่างถูกต้องสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยมาได้มากแล้ว

เรื่องอาหารการกิน
ควรใส่ใจอาหารที่ควรทานเพื่อเสริมสร้างร่างกาย และหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ควรทานต่อโรคนั้นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญต่อร่างกายด้วย คุณจึงควรรู้ว่าโรคที่เป็นอยู่ไม่ควรทานอาหารชนิดใด ควรลดอาหารประเภทใด และควรทานอาหารประเภทใดให้มากขึ้น รวมถึงเครื่องดื่ม และอาหารว่างด้วย

กายภาพบำบัด
โรคบางโรคต้องการการทำกายภาพบำบัด เพื่อความคล่องตัว หรือเพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ดีขึ้น แต่หากเป็นโรคที่ยังสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อยู่ ก็ควรที่จะออกกำลังกายสม่ำเสมอ และหมั่นเคลื่อนไหวร่างกายให้ได้มากที่สุด เพื่อความคล่องตัว และยังช่วยป้องกันการสะสมของไขมันอันเป็นสาเหตุของโรคอ้วน และเบาหวานได้อีกด้วย

การดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินไป และคุณก็สามารถทำได้ เพียงคำนึงถึง 4 ข้อที่ได้กล่าวไปแล้ว ก็ช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้แล้ว
ขอขอบคุณ
thaiseniormarket.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โปรตีนจากสัตว์มีความแตกต่างจากโปรตีนจากพืชอย่างไร?

กรดอะมิโนจำเป็น 9 ชนิด

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย